...
...
เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2568
หน้า: 71-81
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 4
Download: 3
Download PDF
ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาครัฐในจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร
Needs and Guidelines for Developing instructional Leadership of Directors in Educational Institution under the Office of the Vocational Education Commission in Sakon Nakhon, Nakhon Phanom and Mukdahan provinces
ผู้แต่ง
ฤทธิ์ณรงค์ คำหงษา, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ธวัชชัย ไพไหล
Author
Ridnarong Kumhongsa, Sawat Photivat, Tawatchai Pailai

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาครัฐ ในจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 254 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ Krejcie และ Morgan แล้วเลือกโดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสภาพปัจจุบัน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.55 - 0.89 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 และสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.52 - 0.87 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t - test และ One - way ANOVA 
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สามารถจัดลำดับก่อนหลังได้ โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจทางการเรียนรู้ 3) ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
        4. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาครัฐ ในจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร โดยสามารถจัดลำดับความต้องการจำเป็นที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นอยู่ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ลำดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจทางการเรียนรู้ ลำดับที่ 3 คือ ด้านการสร้างบรรยากาศ
แห่งการเรียนรู้ 

Abstract

    The research aimed to examine, compare, and establish guidelines for developing academic leadership of administrators in public educational institutions under the Office of the Vocational Education Commission (OVEC) in Sakon Nakhon (SNK), Nakhon Phanom (NPM), and Mukdahan (MDH) provinces. The sample consisted of personnel in public educational institutions under the OVEC in SNK, NPM, and MDH provinces, during the 2023 academic year, yielding a total of 254 personnel, including 24 administrators in educational institutions, 90 department heads, and 140 teachers. A sample size was determined through Krejcie and Morgan's table and selected by using purposive sampling. The research tool for data collection was a set of questionnaires on current and desirable conditions of academic leadership of educational institutions, with the discriminative power ranging from 0.55 to 0.89, and from 0.52 to 0.87, and the reliability of 0.92, and 0.91, respectively. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Priority Needs Index. The hypothesis was evaluated using t - test analysis, and One - Way ANOVA.
    The findings were as follows:
        1. The current conditions of administrators’ academic leadership in educational institutions were overall at a high level, whereas the desirable conditions were overall at the highest level.
        2. The current and desirable conditions of academic leadership among administrators in educational institutions revealed differences. When classified by positions, both current and desirable conditions overall showed differences at the .01 level of significance. When classified by school sizes, desirable conditions overall showed differences at the .05 level of significance and at the .05 level of significance on work experience, while current conditions overall showed differences at the .01 level of significance, and at the .01 level of significance on work experience.  
        3. The needs for developing administrators’ academic leadership in educational institutions could be prioritized by categorizing the needs into three levels of importance, from most to least essential, as follows: 1) Curriculum management and learning activity management, 2) Setting vision, goals and learning mission, and 3) Creating a learning atmosphere.
        4. The guidelines for developing administrators’ academic leadership in public educational institutions under the OVEC in SNK, NPM, and MDH provinces were based on the top three needs identified by ten expert interviews: 1) Curriculum management and learning activity management. Administrators should align their school curriculum with the curriculum designed by the OVEC, 2) Setting vision, and goals and learning mission. Administrators should clearly define the vision, mission, goals, and identity of their educational institutions, and communicate these with stakeholders for effective planning, and 3) Creating an appropriate and safe learning atmosphere in educational institutions. Administrators should create a learning atmosphere in educational institutions that is both appropriate and safe.

คำสำคัญ

สมรรถนะของผู้บริหารยุคดิจิทัล, ประสิทธิผลโรงเรียน

Keyword

Needs Assessment, Development Guidelines, Instructional Leadership

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093