...
...
เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2568
หน้า: 48-58
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 4
Download: 3
Download PDF
ทักษะการบริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Administrative Skills Affecting Teachers' Performance Motivation in Schools Under The Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้แต่ง
ไพรวัลย์ พาแสง, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Praiwan Pasang, Sawat Phothivat, Pinyo Tonglao

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดี และหาแนวทางในการพัฒนาทักษะการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มี 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ในระหว่าง 0.441 - 0.855 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 ด้านที่ 2 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ในระหว่าง 0.293 - 0.891 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.974 และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการใช้ค่า t - test แบบ one sample ค่า t - test ของค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
        2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
        3. ทักษะการบริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนโดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        4. ทักษะการบริหารเป็นตัวพยากรณ์ที่ดีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน คือ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีและ และทักษะด้านการสื่อสาร มีความเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ± .24012 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
            Y′ = 1.160 + 0.239 (X4) + 0.169 (X2) + 0.196 (X5) + 0.144 (X3)
            Z′ = 0.284 (Z4) + 0.199 (Z2) + 0.262 (Z5) + 0.165 (Z3)
        5. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ที่ควรได้รับการพัฒนา มี 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ 1) ด้านความคิดรวบยอด ผู้บริหารต้องมีการวางแผนการบริหารงาน กำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และมีการพัฒนาตนเองสม่ำเสมอ 2) ด้านเทคนิควิธี ผู้บริหารควรศึกษาความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการบริหาร อบรมพัฒนาตนเอง หาความรู้ ประสบการณ์ใหม่ ๆ เสมอ มีการวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมาย และออกแบบการบริหารงาน และนำเทคนิควิธีการบริหารมาใช้ในการบริหาร 3) ด้านการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล ผู้บริหารควรฝึกฝน การใช้เทคโนโลยี พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีตนเอง ศึกษา เรียนรู้ เข้ารับการอบรมด้านการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลสม่ำเสมอ 4) ด้านการสื่อสาร ผู้บริหารควรมีวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม ฝึกฝนทักษะการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบวิธี ศึกษาความรู้ ให้มีความเข้าใจข้อมูลก่อนสื่อสาร ให้ความสำคัญกับบุคคลที่สื่อสาร 
และสร้างบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร

Abstract

    The purposes of this research were to examine, compare, and analyze the relationship, determine the best predictors, and establish guidelines for developing administrative skills, as the best predictors that were able to create teacher performance motivation in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. The research sample consisted of 333 personnel working in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, in the academic year 2023. The research tool included a set of 5 - point rating scale questionnaires consisting of two aspects: Aspect 1 was related to the administrative skills of school administrators, with discriminative power values ranging from 0.441 to .855, and the reliability of 0.976. Aspect 2 involved teacher performance motivation in schools, with discriminative power values ranging from 0.293 to 0.891, and the reliability of 0.974. The expert interviews were also carried out to propose development guidelines. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation, one sample t - test, t - test, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
    The findings were as follows:
        1. The administrative skills of school administrators were overall at a high level. However, there were no differences in terms of school sizes.
        2. The teacher performance motivation in schools was overall at the highest level. However, there were no differences in terms of school sizes.
        3. The administrative skills of school administrators and teacher performance motivation in schools were overall at a highly positive relationship at the .01 level of significance. 
        4. The administrative skills were the best indicators of teacher performance motivation in schools, namely conceptual skills, technical skills, utilization of technology and digital skills, and communication skills, with the standard error of estimate of ± .24012. A multiple regression analysis equation could be written on the raw scores and standard scores as follows:
            Y′ = 1.160 + 0.239 (X4) + 0.169 (X2) + 0.196 (X5) + 0.144 (X3)
            Z′ = 0.284 (Z4) + 0.199 (Z2) + 0.262 (Z5) + 0.165 (Z3)
        5. The guidelines for developing administrative skills that were the best predictors of teacher performance motivation consisted of four aspects needing improvement: 1) Conceptual Thinking Skills. Administrators must have administrative planning, set clear performance goals, and have regular self-improvement; 2) Technical Skills. Administrators should improve their knowledge about technical management, attend training for self -improvement, seek new knowledge and experiences, analyze and formulate goals, design administration tasks, and implement technical management techniques into practices; 3) technology and digital utilization skills. Administrators should incorporate technology into their practices, enhance their skills in utilizing technology, and engage in continuous learning and training programs to remain updated with advancements in technology and digital utilization; 4) Communication skills. Administrators should choose appropriate communication methods, practice communication skills across various formats, acquire knowledge to comprehend information before disseminating it, prioritize the communicator’s perspectives, and foster a conducive communication atmosphere.
 

คำสำคัญ

ทักษะการบริหาร, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

Keyword

Administrative skills, Motivation for work

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093