บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 350 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 50 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 50 คน และครูผู้สอน จำนวน 250 คน จาก 50 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยทางการบริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.212 - 0.926 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.941 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.292 – 0.911 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.927 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way - ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณหลายขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน พบว่าไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (rxy = 0.983)
6. ปัจจัยทางการบริหารที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านโครงสร้างองค์การ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 98.80 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .06330
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารควรสนับสนุน และส่งเสริมให้ครูเห็นความจำเป็น และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการ 2) ด้านการพัฒนาบุลากร ผู้บริหารควรพัฒนาพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล ซึ่งจะทำให้บุคคลสามารถ และตั้งใจที่จะเสียสละในการทำงานให้กับเป้าประสงค์ของระบบ 3) ด้านโครงสร้างองค์การ ผู้บริหารควรมีการวางแผนการบริหารให้ตรงตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน 4) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารควรมีส่วนร่วมโดยการทำงานเป็นทีม เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมคิด ร่วมทำ 5) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริม และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Abstract
The purposes of this research were to study, compare, determine the relationship, identify the predicative power, and establish guidelines for Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration of Educational Opportunity Expansion Schools Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 as perceived by school administrators, head of academic affairs, and teachers with different positions and work experiences. The group was determined using the Krejcie and Morgan table and Multi - Stage Random Sampling, which yielded a total of 350 participants consisting of 50 administrators 50 heads of academic affairs and 250 teachers from 50 educational opportunity expansion schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, in the 2023 academic year. The instrument for data collection was set of questionnaire with the discriminatory power value between 0.212 - 0.926 and a confidence value of 0.941 and the academic administration effectiveness questionnaire had a discriminatory power value between 0.292 - 0.911 and a reliability value of 0.927. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t - test, One - Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient, Stepwise multiple regression analysis. guidelines for Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration of Educational Opportunity Expansion Schools. By interviewing 10 experts and using content analysis. The findings were as follows:
1. Administrative Factors overall were at a high level.
2. The Effectiveness of Academic Affairs Administration overall were at a high level.
3. Administrative Factors in terms of positions, overall were no differences, whereas In terms of work experience overall, there were no difference.
4. The Effectiveness of Academic Affairs Administration, in terms of positions, was a difference at the .05 level of significance overall; and in terms of work experience overall, there were no difference.
5. Administrative Factors and The Effectiveness of Academic Affairs Administration had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxy = .983).
6. Administrative Factors were able to predict the Effectiveness of School’s Administration at the .01 level of significance with the predictive power of 98.8 percent comprising: Digital Technology (X6), Personnel Development (X7), Organizational Structure (X1), Participatory management (X5) and Executive leadership (X4). The variables were able predict the effectiveness of educational institution administration at 98.8 percent with a standard error of estimate of ±0.06330.
7. The guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of academic affairs administration in five aspects were: 1) Digital Technology; the administrators should encourage the teachers to accept the value of technology in academic administration. 2) Personnel Development; the administrators should develop individuals in order to work for the aims of the school. 3) Organizational Structure; the administrators should set up a plan to suit the criteria of performance. 4) Participatory management; the administrators should involve in the team working, and 5) Executive leadership; the administrators should encourage teaching and learning to students centered model.
คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Administrative Factors, The Effectiveness of Academic Affairs Administrationกำลังออนไลน์: 22
วันนี้: 637
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,831
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093