...
...
เผยแพร่: 29 มิ.ย. 2568
หน้า: 13-24
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 4
Download: 3
Download PDF
ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Factors of Using Information Technology by Administrators Affecting the Administration of School Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
เนตรอัปสร สีใส, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Nethupson Seesai, Ploenpit Thummarat, Pinyo Tonglao

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์อำนาจพยากรณ์และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา  และครูผู้สอน ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 344 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 87 คน ครูผู้สอน จำนวน 256 คน จากจำนวน 83 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.355 - 0.885 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Independent Samples t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) และตอนที่ 2 แนวทางการพัฒนาปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัย พบว่า
        1. ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก
         2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
        3. ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
        4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
        5. ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูงมาก (rXY = .967)
        6. ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน 
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ โดยมีอำนาจทำนายได้ร้อยละ 93.5 ได้แก่ ความง่ายในการใช้งาน (X2) ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (X1) การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (X3) และทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยี (X4) ตัวแปรต่าง ๆ สามารถทำนายประสิทธิผลการบริหารงานของสถานศึกษาได้ร้อยละ 93.5 โดยมีค่าความผิดพลาดมาตรฐานของการประมาณค่าเท่ากับ ±0.13884 
        7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร จำนวน 
4 ด้าน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน คือ 1) ด้านความง่ายต่อการใช้งาน 2) ด้านการรับรู้ประโยชน์การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ด้านการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 4) ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยี

Abstract

    The purposes of this research were to study, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing factors of using information technology by administrators affecting the effectiveness of school’s Administration Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 as perceived by administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The group was determined using the Krejcie and Morgan table and Multi-Stage Random Sampling, This research is divided into 2 parts. Part 1 studie Factors of using information technology by Administrators Affecting the Effectiveness of School’s Administration which yielded a total of 344 participants consisting of 87 administrators and 256 teachers from 83 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, in the 2023 academic year. The instruments for data collection were a set of questionnaires with discrimination values ranging from0.355 to 0.885 and the reliability of 0.988. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t - test, One - Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient, Stepwise multiple regression analysis. and part 2, guidelines for developing information technology by Administrators Affecting the Effectiveness of School’s Administration. By interviewing 10 experts and using content analysis.
    The findings were as follows:
        1. Factors of using information technology by administrators overall were at a high level.
        2. The Effectiveness of School’s Administration overall were at a high level.
        3. Factors of using information technology by administrators in terms of positions, overall were no differences, whereas in terms of school sizes overall, there were differences at the .01 level of significance overall. In terms of work experience overall, there were no difference.
        4. The Effectiveness of School’s Administration, in terms of positions, was no difference overall; In terms of school sizes, there was a difference at the .01 level of significance overall; and in terms of work experience, there was no difference were no differences overall in terms of positions. 
        5. Factors of using information technology by Administrators and the Effectiveness of School’s Administration had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxy = .967).
        6. Factors of using information technology by Administrators were able to predict the Effectiveness of School’s Administration at the .01 level of significance with the predictive power of 93.5 percent comprising: Ease of use (X2), Benefits of using information technology (X1), Learning to use information technology (X3), and Attitude towards using technology (X4). The variables were able predict the effectiveness if educational institution administration at 93.5 percent with a standard error of estimate of ±0.13884.
        7. The guidelines for developing Factors of using information technology by Administrators Affecting the Effectiveness of School’s Administration four aspects: 1) Ease of use; 2) Benefits of using information technology; 3) Learning to use information technology; and 4) Attitude towards using technology.

คำสำคัญ

ปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน

Keyword

Factors of using information technology by Administrators, The Effectiveness of School’s Administration.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0093

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093