บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 345 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2566 จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 80 คน และครูผู้สอน จำนวน 265 คน จาก 80 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก 0.232 - 0.705 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.919 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.235 - 0.676 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.946 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.964 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. สมรรถนะของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน พบว่า สมรรถนะของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน พบว่าประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.706
6. สมรรถนะของผู้บริหาร มีจำนวน 5 ด้านที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยมีจำนวน 4 ด้านที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ 1) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ 2) การสื่อสารและการจูงใจ 3) การมุ่งผลสัมฤทธิ์และ 4) การมีวิสัยทัศน์ และมีจำนวน 1 ด้านที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การบริการที่ดี โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 50.20 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.19951
7. แนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 2) การมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการร่วมคิดให้เกิดวิสัยทัศน์ 3) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผู้บริหารต้องมีการกำหนดผลลัพธ์การดำเนินงานกำหนดเป้าหมาย 4) การสื่อสาร
และการจูงใจ ผู้บริหารสามารถสื่อสารและการจูงใจ อธิบายแนวทางอย่างมีเหตุผล เพื่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน และ 5) การบริการที่ดี ผู้บริหารควรมีการจัดระบบการให้บริการ เพื่อให้มารับการบริการ มีความสะดวกและรวดเร็ว
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing the competencies of school administrators affecting the effectiveness of instructional administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2023. The sample group of this research comprised 345 participants, including 80 school administrators and 265 teachers from 80 schools. The sample size was determined using the Krejcic and Morgan table and multi - stage random sampling. The tools for data collection were five - point rating scale questionnaires, comprising the competencies of school administrators with discriminative values of 0.780 - 0.897 and reliability of 0.933, the effectiveness of instructional administration with discriminative values of 0.729 - .908 and reliability of 0.954, the reliability for the whole questionnaires were 0.958, and the structural interview form examining the guidelines for developing the competencies of school administrators. Data analysis statistics consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t - test, One - Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The competencies of school administrators were at a high level.
2. The effectiveness of instructional administration in school were at a high level.
3. The competencies of school administrators, as perceived by school administrators and teachers classified by positions were difference at the .01 level of significance overall, and in term of school size, there was no difference.
4. The effectiveness of instructional administration in school as perceived by school administrators and teachers classified by positions were no different, in term of school size, there was a difference at the .05 level of significance and in term of work experience, there was no difference.
5. The competencies of school administrators and effectiveness of instructional administration in school had a positive relationship at the .01 level of significance with Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient of 0.706
6. The competencies of school administrators could predict the effectiveness of instructional administration, comprising 5 aspects. Four aspects were at the .01 level of significance as followed: 1) Analysis and synthesis 2) Communication and motivation 3) Result oriented, and 4) Vision. Service mind had the predictive power at the .05 level of significance. They were able to jointly predict 50.20 percent, and the standard error of estimate of ±.19951.
7. The research proposed guidelines for developing the competencies of school administrators affecting the effectiveness of instructional administration in schools, comprising 5 aspects: Analysis and synthesis, the Vision, Resulted oriented, Communication and motivation, the Service mind.
คำสำคัญ
สมรรถนะของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Competencies Of School Administrators, Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schoolsกำลังออนไลน์: 24
วันนี้: 445
เมื่อวานนี้: 4,077
จำนวนครั้งการเข้าชม: 591,639
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093