บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการนำเสนอกลยุทธ์การบริหารบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) ยืนยันกลยุทธ์การบริหารการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงนโยบาย ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย ใช้กระบวนการเก็บรวมรวมข้อมูล แบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะระยะที่ 1 สังเคราะห์ องค์ประกอบกลยุทธ์ การบริหารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบกลยุทธ์การบริหารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบเดล ฟาย เชิงคุณภาพและเชิงนโยบาย และระยะที่ 3 หาความเหมาะสมกลยุทธ์การบริหารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 2 กลุ่ม โดยเลือกอย่างเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 10 แห่ง จำนวน 15 คน กลุ่มที่ 2 จากมหาวิทยาลัยที่มีแนวปฏิบัติเป็นเลิศ 5 แห่ง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มี 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถามซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.51-1.00 และค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 และ 3) แบบประเมินองค์ประกอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหามัธยฐาน ฐานนิยม พิสัยควอไทล์ และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสถานะของการบริหารระดับบัณฑิตศึกษา คือ 1) มีสถานะเป็นหน่วยงานกลาง มีลักษณะเทียบเท่าคณะ/สำนัก 2) เป็นหน่วยงานสังกัดคณะที่มีการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) เป็นหน่วยงานกลาง มีลักษณะเทียบเท่ากอง/สำนักงาน
2. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์ประกอบกลยุทธ์การบริหารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ มี 5 องค์ประกอบ 9 องค์ประกอบย่อย 42 ประเด็น โดยมีค่ามัธยฐาน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและมีค่าความสอดคล้องกันสูง ประกอบด้วย 1) การบริหารองค์การ 2) การมุ่งเน้นผู้เรียน 3) การบริหารวิชาการ 4) การมุ่งเน้นงานวิจัย และ 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
3. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นไปได้ มีประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ได้มากว่าร้อยละ 80
Abstract
The main purpose of the study was to strategic administration offering of graduate studies in Rajabhat University which was divided to 3 specific purposes were to: 1) study experts’ opinion for strategic administration of graduate studies in Rajabhat University, 2) evaluate experts’ opinion for strategic administration of graduate studies in Rajabhat University, and 3) confirm strategic administration of graduate studies in Rajabhat University The study was an integration between qualitative and policy research, conducted by using Delphi technique. Data were collected qualitatively and quantitatively in three following phases: Phase One (synthesizing the strategic key components of the management), Phase Two (analyzing the strategic key components by using Delphi technique), and Phase Three (evaluating the effectiveness of the developed strategies). The key informants in the study were experts from two groups, drawn by purposive sampling. Group one of fifteen experts was from ten Rajabhat universities, and group two of six experts was from five Rajabhat Universities that had been awarded Best Practice. The tools for data collection consisted of (1) semi-structured interview, (2) questionnaire with the constructed validity ranging from 0.51-1.00, and the content validity of 1.00, (3) a component evaluation form. Statistics used for data analysis included Mean, Mode, Quartiles, as well as Content Analysis.
The findings were as follows:
1. The experts’ opinion for strategic administration of graduate studies in Rajabhat University were: 1) centered department as the faculty; 2) the department under the faculty which offer graduate curriculum; and 3) centered department as department.
2. The experts’ opinion for strategic administration of graduate studies in Rajabhat University were five strategic key components of the graduate education management of Rajabhat universities, with nine sub-components combining forty two topics. The Mean Score resulted from a high to the highest levels. The congruence score was also revealed at a high level. The five components were: 1) organizational management; 2) learner-focused management; 3) academic management; 4) research-focused management; and 5) human resource-focused management.
3. The strategic administration of graduate studies in Rajabhat University was found that the proposed strategies could be applicable and beneficial for the organizations, at the applicability rate of over eighty percent overall.
คำสำคัญ
การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏKeyword
strategic administration, graduate study, Rajabhat Universityกำลังออนไลน์: 73
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,470
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,669
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093