บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 การดำเนินการแบ่งออกเป็น 6ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้กรอบแนวคิดในการวิจัยได้องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 2 ศึกษานำร่ององค์ประกอบบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผลโดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร 3 แห่ง เลือกแบบเจาะจง เป็นโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ (Best Practice)นำแนวคิดมาปรับปรุงองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 3 จัดสนทนากลุ่มองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน เลือกแบบเจาะจง นำแนวคิดมาปรับปรุงองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 4 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผลโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร 54 คน เลือกแบบเจาะจงครูผู้สอน 220 คน สุ่มอย่างง่ายจากโรงเรียน 54 แห่ง นำผลการคำนวณสถิติมาปรับปรุงการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 5 ยกร่างรูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล ระยะที่ 6 ประชาพิจารณ์ ประเมิน ตรวจสอบ ยืนยัน รับรอง รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชน ที่มีประสิทธิผลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยผู้มีส่วนได้เสียประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน บุคลากรในโรงเรียน 3 แห่ง ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนละ 1 คน ครูผู้สอน โรงเรียนละ 10 คน รวม 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 4) แบบประเมิน ตรวจสอบ ยืนยัน รับรอง รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ คือ หาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (0.84) หาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับ (0.96) หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผลโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบมีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ วัฒนธรรมองค์การ และการบริหารเชิงกลยุทธ์ องค์ประกอบที่มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยที่ต่ำสุดคือ เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยสูงสุดคือภาวะผู้นำรองลงมาคือการบริหารเชิงกลยุทธ์และองค์ประกอบที่มีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่ำสุดคือประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน เมื่อเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยการระบุความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญมากที่สุดและมีความเร่งด่วนที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อน พบว่าองค์ประกอบเทคโนโลยีสารสนเทศต้องได้รับการพัฒนาก่อนเป็นอันดับหนึ่งอันดับสององค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน อันดับสุดท้ายวัฒนธรรมองค์การ โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นดังนี้ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศ 2) องค์การแห่งการเรียนรู้ 3) ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน 4) ภาวะผู้นำ 5) การบริหารเชิงกลยุทธ์
และ 6) วัฒนธรรมองค์การ
รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 1 ความเหมาะสมพบว่าองค์ประกอบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ (ยอมรับ=96.07, ไม่ยอมรับ=3.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุดคือภาวะผู้นำ รองลงมาคือด้านวัฒนธรรมองค์การ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุดคือด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยร้อยละตั้งแต่ 87.20 ขึ้นไป สำหรับความเป็นประโยชน์พบว่าองค์ประกอบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ (ยอมรับ=96.87, ไม่ยอมรับ=3.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุดคือด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ รองลงมาคือด้านประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุดคือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยร้อยละตั้งแต่ 87.20 ขึ้นไป สำหรับความเป็นไปได้พบว่าองค์ประกอบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ (ยอมรับ=97.33, ไม่ยอมรับ=2.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุดคือด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ รองลงมาคือด้านวัฒนธรรมองค์การ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุดคือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยร้อยละตั้งแต่ 87.20 ขึ้นไป สำหรับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ความเหมาะสมพบว่าภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ (ยอมรับ=95.13, ไม่ยอมรับ=4.87) สำหรับความเป็นประโยชน์ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ (ยอมรับ=97.18, ไม่ยอมรับ=2.82)และความเป็นไปได้ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ (ยอมรับ=97.70, ไม่ยอมรับ=2.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยร้อยละตั้งแต่ 89.74 ขึ้นไป
Abstract
The objectives of this research were: 1) to study current situation and desirable situation of the management for effectiveness of private schools, under jurisdiction of The Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1 and 2) to develop the management mode for effectiveness of the private schools under The Office of Khon kaen Primary Education Service Areal There were 6 phases of doing this research: Phase 1: rationale, and related theories and the research literatures were studied and management element for effectiveness of private schools.Phase 2: the pilot study in management element of private schools for effectiveness was conducted administrators from 3 schools Best Practices. Phase 3: The management element of the private schools for effectiveness was checked and confirmed through focus group discussion by 10 experts.Phase 4: management of the current and the desirable situation, and the need of private school management for effectiveness was studied.The samples of the study were 54 school administrators and 220 teachers from 54 schools.Phase 5: drafting management model for effectiveness of private school Phase 6:public hearing for evaluation, confirmation, and assurance of management model of private schools, under jurisdiction of The Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1, for effectiveness, The target group consisted of all stakeholders: 6 scholars and school staffs from 3 schools including 1 school administrator and teachers, 10 persons from each school, total of 39 persons for public hearing. There search Instruments were: 1) investigation form of content validity2) Interview 3) questionnaires4) the evaluation, confirmation, and assurance form of management model of private schools. The statistics used for data analysis of content validity, the reliability coefficient in total issue of questionnaire were frequency, percentage, mean, standard deviation, and PNI Modified.
The research findings found that
The present condition, on the whole, of private school management model was found to be moderate. When considered each and every element, the highest level of feedbacks is organizational culture and strategic management and the lowest is information technology. The overall desirable condition of the school Management model is found to be at the highest level. The component that has the highest level of feedbacks was leadership, followed by strategic management. The lowest was the effectiveness of the private school. Considering needs priority, it was found that the most urgently needed one was information technology. It was found that the element of information technology must be developed first. The second most in need is learning organization for the effectiveness of private schools. The last is organizational culture. The need for development could be prioritized as follows. 1)Information Technology 2) Learning Organization 3) Effectiveness 4) leadership 5) Strategic Management and 6) Organizational Culture, respectively.
In developing management model for effectiveness of the private schools as stated, the appropriateness was found that the components, in all, had an average percentage (acceptable = 96.07, unacceptable = 3.93). When considering each component, the highest percentage is leadership followed by organizational culture. The lowest percentage is learning organization. When considering each component, it was found that all had an average value of 87.20 or higher. As for the usefulness of the model it was found that all of the components were of percentage average of (acceptable = 96.87, unacceptable = 3.13). The highest percentage was strategic management followed by effectiveness with the lowest average percentage being information technology. When considering each component element, it has the average percentage of 87.20 or higher. As for the feasibility, found that the overall components had average percentage (acceptable=97.33, unacceptable = 2.67). When considering each component, the highest average percentage was strategic management followed by organizational culture. The lowest average percentage is the information technology. When considering each component, it was found that all components had an average of 87.20 percent or higher As for the effectiveness of the private schools the appropriateness was found that the components in all, had an average percentage(acceptable= 95.13,unacceptable = 4.87)As for the usefulness was found that the components were of percentage average of (Acceptable = 97.18,Unacceptable = 2.82),and as for the feasibility, found that the components were of average of (Acceptable = 97.70,Unacceptable = 2.30) When considering each component each one has average percentage of 89.74 or higher.
คำสำคัญ
รูปแบบการบริหาร, โรงเรียนเอกชน, ประสิทธิผลKeyword
Management model; Private School, Effectivenessกำลังออนไลน์: 77
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,545
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,744
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093