บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทาง
การพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ
การดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 345 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 80 คน และครูผู้สอน จำนวน 265 คน ในปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.943 และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.922 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทดสอบค่าที (t - test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ทดสอบค่าเอฟ (F - test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 สถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์
ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (rXY = 0.341) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 3 ด้านที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยพยากรณ์ได้ร้อยละ 12.0
7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ การมีแบบแผนความคิด การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
และการคิดอย่างเป็นระบบ
Abstract
The purpose of this research were to examine, compare, and identify relationships, determine the predictive power, and establish the guidelines for developing Being a professional learning organization that affects learning management effectiveness in schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by school administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experiences. The samples, obtained through multi-stage random sampling, consisted of a total of 345 participants, including 80 school administrators and 265 teachers in the 2023 academic year. The research instruments included sets of questionnaires with the reliability of 0.943 on creative leadership of administrators and a reliability of 0.922 on effectiveness of school administrations. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent samples t - test, one - way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. Being a professional learning organization under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 was overall at a highest level.
2. The learning management effectiveness in schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 was overall at a highest level.
3. Being a professional learning organization under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as classified by participants’ position overall, school size overall and Work experience overall, there is no difference.
4. The learning management effectiveness in schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as classified by participants’ position overall, showed a difference at the .01 level of significance. school size overall and Work experience overall, there is no difference.
5. Being a professional learning organization had a positive relationship with the learning management effectiveness in schools at the .01 level of significance with a moderate level of correlation coefficient (rxy=.341)
6. The five aspects of Being a professional learning organization were analyzed and it revealed that three aspects, Mental Models, Team Learning and System Thinking, could predict effectiveness of school administrations at the .01 level of significance. The combined predictive power of all factors reached 12.0 percent.
7. This research has proposed guidelines for Being a professional learning organization that affects learning management effectiveness in schools involving three aspects Mental Models, Team Learning and System Thinking.
คำสำคัญ
ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้, ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนKeyword
Being a professional learning organization, Learning management effectiveness in schoolsกำลังออนไลน์: 9
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,979
จำนวนครั้งการเข้าชม: 402,008
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร/
แฟกซ์ 0-4297-0093
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093