บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา 4) เพื่อประเมินรูปแบบการเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ดำเนินการ 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ปีการศึกษา 2566-2567 จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบวัดความพึงพอใจและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาภาพรวมมีค่า PNI = 0.63 2. รูปแบบการเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสำคัญ (4) วิธีดำเนินการ (5) เงื่อนไขความสำเร็จ 3. ผลการปฏิบัติตามรูปแบบการเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นผู้นำทางวิชาการในระดับมากที่สุด ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
Abstract
This research aims 1) to study needs for enhancing school administrators’ academic leadership in the digital era, 2) to develop a model for enhancing school administrators’ academic leadership affecting academic management, 3) to implement the model for enhancing school administrators’ academic leadership in the digital era affecting school academic management, and 4) to evaluate the model for enhancing school administrators’ academic leadership in the digital era affecting school academics management, with four phases. Sample included 214 school administrators during the academic year 2023 - 2024 Research instruments consisted of a questionnaire, a satisfaction assessment form, and an interview. Data were analyzed using Means, Standard Deviation (S.D.), and a Priority Needs Index (PNI) analysis. Results showed that 1. The needs for enhancing academic leadership in the digital era of school administrators in an overview was at 0.63 (PNI = 0.63). 2. The model for enhancing academic leadership in the digital era of school administrators included (1) rationale (2) objectives, (3) core key components, (4) operational steps, (5) success conditions. 3. The adherence of the model for enhancing academic leadership in the digital era was at the highest level. 4. School administrators had academic leadership in the highest level. Effectiveness of school academic management was at the highest level. School administrators’ satisfaction was at the highest level.
คำสำคัญ
ผู้นำทางวิชาการ, ยุคดิจิทัล, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการKeyword
Academic Leadership, Digital Era, Effectiveness of Academic Managementกำลังออนไลน์: 106
วันนี้: 1,127
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,635
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093