บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาค่าอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ จำนวน 334 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 289 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .43 - .89 และมีความเชื่อมั่น เท่ากับ .89 การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .36 - .77 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะประจำสายงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหาร กับการพัฒนาตนเองตามสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มี 3 ด้านที่สามารถพยากรณ์การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ภาวะผู้นำสู่ความเป็นเลิศ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี และมีจำนวน 1 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์การพัฒนาตนเองตามสมรรถนะประจำสายงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ภาวะผู้นำทางจริยธรรม 7. การวิจัยครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร จำนวน 4 ด้าน คือ 1) ภาวะผู้นำสู่ความเป็นเลิศ ผู้บริหารช่วยบุคลากรให้มีความคิดอย่างมีเหตุผล โดยมีการทดสอบจากสถานการณ์จริง 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาในการทำงานให้สำเร็จ 3) ภาวะผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผู้บริหารควรเป็นผู้นำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและ 4) ภาวะผู้นำทางจริยธรรม ผู้บริหารควรให้ความยุติธรรมในการบริหารงานทุกด้าน
Abstract
The purposes of this research were to: examine, compare, identify the relationship, and determine the predictive power of administrators’ leadership affecting self-development based on teachers' functional competence in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience. The sample group consisted of 334 participants, including 45 school administrators and 289 teachers. The instrument for data collection comprised a set of 5 - level rating scale questionnaires, focusing on administrators’ leadership, with the discriminative power ranging from .43 to .89, and the reliability of .89, and assessing self - development based on teachers' functional competence in schools, with the discriminative power ranging from .36 to .77, and the reliability of .87. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One - Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. Administrators exhibited their leadership overall at a high level. 2. Overall, self-development based on teachers' functional competence in schools was also at a high level. 3. Administrators’ leadership, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience, overall, showed no difference. 4. Self - development based on teachers' functional competence in schools, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience, overall, showed no difference. 5. The relationship between administrators’ leadership and self-development based on teachers' functional competence in schools showed a positive correlation at the .01 level of significance with a moderate level. 6. Administrators’ leadership, encompassing three aspects: Leadership for Excellence, Transformational Leadership, and Leadership in Innovation and Technology, could significantly predict self-development based on teachers’ functional competence in schools at the .01 level overall. However, only one aspect, ethical leadership, demonstrated predictive significance at the .05 level. 7. This research has proposed guidelines for developing administrators’ leadership across four aspects: 1) Leadership for Excellence, where administrators encourage logical thinking among personnel in real - world scenarios; 2)Transformational Leadership, emphasizing the need for administrators to inspire subordinates to attain success; 3) Innovation and Technology Leadership, advocating for the integration of new technologies to foster inspiration; and 4) Ethical Leadership, advising administrators to uphold fairness across all administrative domains.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, การพัฒนาตนเอง, สมรรถนะประจำสายงานKeyword
Administrators’ Leadership, Self - Development, Functional Competenceกำลังออนไลน์: 36
วันนี้: 1,032
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,540
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093