บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรการบริหารงานบุคคล และเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของการบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระยะที่ 2 การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระยะที่ 3 ยืนยันและประเมินยุทธศาสตร์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายวิเคราะห์องค์กร จำนวน 30 คน กลุ่มเป้าหมายตรวจสอบยืนยันร่างยุทธศาสตร์ จำนวน 30 คน และกลุ่มเป้าหมายประเมินยุทธศาสตร์ จำนวน 35 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ เอกสารประกอบการประชุม แบบบันทึกการประชาพิจารณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ พบว่า สภาพแวดล้อมภายนอกมีโอกาสมากกว่าอุปสรรค จึงอยู่ในสภาพ “เอื้อ” และสภาพแวดล้อมภายในมีจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็ง จึงอยู่ในสภาพ “อ่อน” ดังนั้นการบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจึงอยู่ในสภาพ “เอื้อแต่อ่อน” ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่เหมาะสมในการที่จะกำหนดกลยุทธ์เชิงแก้ไข และพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
2. ยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มร้อยแก่นสารสินธุ์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 15 กลยุทธ์ 40 มาตรการ 34 ตัวชี้วัด ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาระบบอัตรากำลังอย่างมีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากร ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาบุคลากรสู่มืออาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคงและผดุงความเป็นธรรมในวิชาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การธำรงรักษาบุคลากร ผลการประเมินยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน
Abstract
The purposes of the research were: To analyze enterprise environment on personnel administration, and to develop the strategy for effective personnel administration of the Primary Educational Service Area Office, Roi Kaen Sara Sin Cluster. The research was divided into 3 stages; that is, (1) analyzing the environment both inside and outside organizations on personnel administration of the Primary Educational Service Area Office, (2) making draft strategy for effective personnel administration of the Primary Educational Service Area Office, and (3) confirming and evaluating the strategy. The informants used in the research comprised 30 people of the target group of organizational analysis, 30 people of the target group of monitoring and confirming draft strategy, and 35 people of the target group of evaluating the strategy. The collected data were analyzed by content analysis. The research instruments were meeting documents, public hearing forms, appropriateness assessment forms and the possibility of strategy. In terms of qualitative analysis, the collected data were analyzed by content analysis, and for quantitative analysis, the collected data were analyzed by arithmetic means and standard deviation.
The findings of the research indicated that;
1. In terms of analyze enterprise environment on personnel administration of the Primary Educational Service Area Office, Roi Kaen Sara Sin Cluster, it was found that since the environment outside organizations seemed to have more opportunity than threat, it was in the condition of ‘contributing’, and because the environment inside organizations seemed to have more weakness than strength, it was in the condition of ‘being weak’. Therefore, the personnel administration of the Primary Educational Service Area Office seemed to be in the condition of ‘contributing but being weak.
2. For the strategy for effective personnel administration of the Primary Educational Service Area Office, Roi Kaen Sara Sin Cluster, it can be said that it consisted of 5 strategic issues, 15 strategies, 40 measures, 34 indicators; Strategic Issue 1: ‘Promoting and Developing a Manpower System’, Strategic Issue 2: ‘Improving Recruitment Efficiency’, Strategic Issue 3: ‘Professional Development’, Strategic Issue 4: ‘Strengthening and Maintaining Fairness in Professional’, and Strategic Issue 5: ‘Talent Retention’. In terms of the evaluation of strategy for effective personnel administration, it was found that; in all aspects of study and each side, the appropriateness and the possibility seemed to be at the high level.
คำสำคัญ
ยุทธศาสตร์การบริหารงานบุคคล, การบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลKeyword
Strategy for Personnel Administration, Effective Personnel Administrationกำลังออนไลน์: 99
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,431
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,630
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093