...
...
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2567
หน้า: 294-303
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 15
Download: 4
Download PDF
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา
Teacher s Digital competency Development Model Under the Primary Educational Service Area Office in Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง
ศิริชัย โอมฤก, วินัย ทองภูบาล, สมาน อัศวภูมิ
Author
Sirichai Ommaruek, Winai Thongpuban, Saman Asawapoom

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธีพหุระยะ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 375 คน ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 2) แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง และ 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความต้องการจำเป็นโดยใช้ค่า PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา มีค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.20 - 0.40 โดยด้านการสร้างสรรค์ดิจิทัลมีค่า PNImodified สูงที่สุด (PNImodified = 0.38) รองลงมาคือ ด้านสารสนเทศดิจิทัล (PNImodified = 0.32) ด้านความปลอดภัยดิจิทัล (PNImodified = 0.31) และด้านการสื่อสารดิจิทัล (PNImodified = 0.25) ตามลำดับ 2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) องค์ประกอบหลักของรูปแบบ ได้แก่ (1) ด้านการสร้างสรรค์ดิจิทัล (2) ด้านสารสนเทศดิจิทัล (3) ด้านความปลอดภัยดิจิทัล และ(4) ด้านการสื่อสารดิจิทัล 4) จุดหมายของรูปแบบ 5) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ 6) แนวทางการประเมินผลรูปแบบ และ 7) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้  3. การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Abstract

This research aimed to 1) investigate the need for digital competency development of teachers. under the Primary Education Area Office in Nakhon Ratchasima Province 2) develop Digital competency development model of teachers under the Primary Education Area Office in Nakhon Ratchasima Province and 3) assess the teachers' digital competency development model under the Primary Education Area Office in Nakhon Ratchasima Province. The research employed a mixed-method approach, integrating quantitative research with a questionnaire and qualitative research through interviews and focus group discussions. The sample consisted of 375 participants, with 5 interviewees and 9 experts involved in group discussions. The research tools included a questionnaire with a 5 -level estimation scale (IOC: 0.80 - 1.00; reliability: 0.99), semi-structured interviews, and group conversation logs. The necessary requirements were analyzed using mean, S.D., PNImodified  and content analysis.  The research findings revealed the following: 1. The assessment of the needs for digital competency development among teachers under the Primary Education Area Office in Nakhon Ratchasima indicated values ranging from 0.20 to 0.40. Digital creativity was identified as the highest priority (PNImodified = 0.38), followed by digital informatics (PNImodified = 0.32), digital security (PNImodified = 0.31), and digital communication (PNImodified = 0.25). 2. The digital competency development model for teachers in the Primary Education Area Office in Nakhon Ratchasima included the model's purpose, principles, key elements (digital creation, digital information, digital security, and digital communication), model operation, evaluation approach, and success implementation conditions. 3. Assessment of teachers' digital competency development model under the Primary Education Area Office in Nakhon Ratchasima Province in terms of accuracy, suitability and feasibility. It was at the highest level in all aspects.

คำสำคัญ

การพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล, ครู, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

Keyword

Digital competency development, Teachers, Under the Primary Educational Service Area Office in Nakhon Ratchasima Province

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093