...
...
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2567
หน้า: 284-293
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 12
Download: 2
Download PDF
การศึกษาสมรรถนะและแนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
A Study of English Communication Competencies and Development Guidelines of School Administrators Under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
เบญจมาภรณ์ โชติกะมงคล, ธีระ ภูดี, รัชฎาพร งอยภูธร
Author
Benjamaporn Chotikamongkol, Theera Phudee, Ratchadaporn Ngoipoothon

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะ และแนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสัดส่วนของเครจซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.39 - 0.74 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 7 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์เนื้อหา และเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สมรรถนะด้านการฟัง สมรรถนะด้านการพูด สมรรถนะด้านการอ่าน และสมรรถนะด้านการเขียน 2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรปรับทัศนคติ แนวคิด และการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อปรับมุมมองในการพัฒนาตนเองสู่การขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีมาตรฐาน หมั่นฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เข้าร่วมหลักสูตรอบรมอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง หาโอกาสในการเรียนรู้การพัฒนาทักษะ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนจากเจ้าของภาษา และจัดบรรยากาศในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้และ 2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษของผู้บริหารสถานศึกษาโดยกำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารสถานศึกษาว่าควรอยู่ในการทดสอบ CEFR ระดับใด การจัดประชุมโดยการเชิญเจ้าของภาษามาบรรยายเพื่อส่งเสริมบรรยากาศในการใช้ภาษาอังกฤษ จัดสรรผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามาช่วยขับเคลื่อนในเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยมีการจัดอบรมทุกปีการศึกษา และนิเทศติดตามผลอย่างต่อเนื่องโดยให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาได้ร่วมติดตามมากับคณะที่มานิเทศในโรงเรียน เพื่อจะได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และจัดการทดสอบ หรือประเมินสมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Abstract

The purposes of this research were to; 1) study English communication competencies and 2) study development guidelines for English communication of school administrators under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The research was conducted in 2 phases. The first phase was to study English communication competencies of school administrators. The sample consisted of 132 primary school administrators under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan Table, stratified sampling and simple random sampling. The research instrument was a set of questionnaire with 1 - 5 Likert’s scale. The discrimination between 0.26 - 0.67 and the reliability of the questionnaires was 0.95. The statistics used to analyze data were mean and standard deviation. The second phase was to seek guidelines of the development for English communication of school administrators under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 by interviewing 7 key informants selected by purposive sampling. The data were analyzed by descriptive research. The results of this research found that: 1. The overall competency of English for communication of school administrators under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 was at a moderate level. When each aspect was considered, every aspect was at an moderate level. Ranging mean from highest to lowest averages were listening competencies, speaking competencies, reading competencies and writing competencies. 2. The guidelines of the development for English communication of school administrators under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 3 consisted of 1) School administrators should adjust their attitudes, concepts and awareness of the importance of using English for communication in order to adjust the perspective on self-improvement to drive the organization with standards by self-learning through the internet. Attend the training course at least once per academic year. Find opportunities to train with native speakers to improve their speaking, reading, listening, and writing abilities and create an environment at the school to encourages internal staff to learn. 2) Office of the Basic Education Commission and Educational Service Area Offices should establish a clear policy about English competencies by determine the requirements of school administrators and the CEFR test level at which they should be placed. Creating an environment that encourages the usage of English. Organizing a conference by inviting native speakers to give a lecture. Employ native English speakers who are specialists in the English language to assist promoting the usage of English for communication. Organize training programs each academic year. Monitoring and continual follow-up by supervisory board in order to exchange and learn from direct experience. Organize a test or assessment of English communication competencies to be able to evaluate for continuous improvement and development.

คำสำคัญ

สมรรถนะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, แนวทาง, ผู้บริหารสถานศึกษา

Keyword

English communication competencies, Guidelines, School Administrators

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093