บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในปีการศึกษา 2566 จำนวน 336 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 79 คน ครูผู้สอน 257 คน จากจำนวน 79 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ เครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยแบบสอบถามด้านปัจจัยทางการบริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.411 – 0.811 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.996 และแบบสอบถามด้านประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.542 – 0.844 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.972 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบค่าที (Independent Samples t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนโดยรวมและอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูง (rxtyt= .825) 6. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านงบประมาณ (X6) ด้านแรงจูงใจ (X3) ด้านวัฒนธรรมองค์กร (X2) ด้านการพัฒนาบุคลากร (X5) และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X4) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 69.5 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.19747 7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน จำนวน 5 ด้าน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน คือ 7.1) ด้านงบประมาณ โดยโรงเรียนควรมีการเบิกจ่ายงบประมาณถูกต้อง โปร่งใส ถูกระเบียบ 7.2) ด้านแรงจูงใจ โดยผู้บริหารโรงเรียนควรมีคำชมเชย พูดคุย ให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา 7.3) ด้านวัฒนธรรมองค์กร โดยผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างอิสระ 7.4) ด้านการพัฒนาบุคลากร โดยผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียนได้รับการอบรมพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ และ 7.5) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนให้บุคลากรใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน
Abstract
The purposes of this correlational research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of teamwork in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan table and multi - stage random sampling, which yielded a total of 336 participants consisting of 79 school administrators and 257 teachers from 79 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, in the 2023 academic year. The research instruments were sets of 5 - level rating scale questionnaires: a set of questionnaires on administrative factors with discriminative values ranging from 0.411 to 0.811 and the reliability of 0.996; and a set of questionnaires on the effectiveness of teamwork in schools with discriminative values ranging from 0.542 to 0.844 and the reliability of 0.972. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t - test, One - Way ANOVA, Pearson's product -moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The school administrative factors were overall at the highest level. 2. The school administrative factors showed differences at the .01 level of significance overall in terms of positions, whereas in terms of school sizes, and work experience, there were no differences overall. 3. The effectiveness of teamwork in schools was overall at the highest level. 4. The effectiveness of teamwork in schools, in terms of positions, showed a difference at the .01 level of significance overall, whereas in terms of school sizes, and work experience, there were no differences overall. 5. The school administrative factors and the effectiveness of teamwork in schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxtyt= .825). 6. The school administrative factors were able to predict the effectiveness of teamwork in schools at the .01 level of significance percent, comprising personnel development (X5), motivation (X3), budget (X6), organizational culture (X2), and information technology (X4), with the predictive power of 69.5 and a standard error of estimate of ±.19747. 7. This research has proposed guidelines for developing school administrative factors affecting the effectiveness of teamwork of teachers in schools covering five aspects: 7.1) Personnel Development, school administrators should support ongoing training and development for school personnel; 7.2) Motivation, school administrators should provide encouragement and recognition to motivate teachers; 7.3) Budget, schools should have accurate, transparent, and organized system following regulations for budget allocation and expenditure; 7.4) Organizational Culture, school administrators and teachers have opportunities to exchange opinions freely; and 7.5) Information Technology, school administrators should promote the use of IT media to enhance work performance among personnel.
คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน, ประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนKeyword
School Administrative Factors, Effectiveness of Teamwork in Schoolsกำลังออนไลน์: 46
วันนี้: 1,013
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,521
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093