...
...
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2567
หน้า: 230-239
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 8
Download: 3
Download PDF
ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Administrative Skills of School Administrators Affecting the Student Care and Support System Management in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ศิริพร ยตะโคตร, เพ็ญผกา ปัญจนะ, ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
Author
Siripron Yatakot, Penphaka Panjana, Ruthaisap Dokkham

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์และหาแนวทางพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน จำนวน 337 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 86 คน และครูผู้สอน จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.818 - 0.929 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.963 และการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.848 - 0.918 มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.960 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าเอฟ (F - test), One - way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product – moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2. การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูง (rxy = 0.714)  6. ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจพยากรณ์การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน ได้แก่ ทักษะด้านการศึกษาและการสอน และ ทักษะด้านความรู้ความคิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 54.06 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.071 7. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการศึกษาและการสอน และ ทักษะด้านความรู้ความคิด 7.1 ทักษะด้านการศึกษาและการสอน ได้แก่ ผู้บริหารควรหมั่นศึกษาเพิ่มพูนความรู้ เป็นต้นแบบในการพัฒนาตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมพัฒนา  7.2 ทักษะด้านความรู้ความคิด ได้แก่ ผู้บริหารต้องมีความสามารถที่จะนำกลยุทธ์ แนวคิดใหม่ ๆ นำมาปรับใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing administrative skills of school administrators affecting the students care and support system management in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample consisted of 337 participants, including 82 school administrators, 82 teachers responsible for student care and support system, and 169 teachers. The instruments for data collection included a set of questionnaires and interview forms. The questionnaire assessing administrative skills of school administrators demonstrated the discriminative power between 0.818 and 0.929, with the reliability of 0.963. Similarly, the student care and support system management within schools showed the discriminative power between 0.848 and 0.918, with the reliability of 0.960. The statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation, F - test (One-way ANOVA), Pearson's product–moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The administrative skills of school administrators, as perceived by participants, were overall at a highest level. 2. The student care and support system management within schools, as perceived by participants, was overall at the highest level. 3. The overall administrative skills of school administrators, as perceived by participants with distinct positions, work experience, and school sizes, were differences at the .01 level of significance. 4. The student care and support system management within schools, classified by participants’ positions, and work experience, showed differences at the .01 level of significance. Regarding school sizes, there were overall no differences.  5. The administrative skills of school administrators and the student care and support system management within schools overall had a positive relationship at the .01 level of significance, reaching a high level (rXY = .714).  6. The administrative skills of school administrators could predict the student care and support system management within schools, including educational and instructional skills, and cognitive skills, at the .01 level of significance with the predictive power of 54.06 and the standard error of estimate of ±0.071. 7. The guidelines for developing the administrative skills of school administrators comprise two aspects: Educational and Instructional Skills, and Cognitive Skills. 7.1 Educational and Instructional Skills. Administrators should commit to diligent study to enhance their knowledge, serve as role models in self - development, and actively support teachers in accessing professional development training.  7.2 Cognitive skills. Administrators must possess the ability to implement strategies and innovative ideas to develop schools in response to current circumstances.

คำสำคัญ

ทักษะการบริหาร, การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน

Keyword

Administrative Skills, Student Care and Support System Management Within Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093