บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) โดยมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารและครู สังกัดโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จำนวน 237 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่&มอร์แกน และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และนักวิชาการด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 7 คน การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.42 - 0.77 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณา ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 อยู่ในระดับปานกลาง และยังได้พบว่าด้านที่มีปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม ได้แก่ ทรัพยากรด้านงบประมาณ และทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ 2. แนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ประกอบด้วย 2.1 ทรัพยากรด้านงบประมาณ 1) ควรมีการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการระดมทรัพยากร โดยการรวบรวมข้อมูลผู้ที่เคยบริจาค และผู้ที่คาดว่าจะบริจาค 2) ควรมีการวิจัยการระดมทรัพยากร เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ ประเด็นที่กำหนดในการขอรับการสนับสนุน เป็นต้น 3) ควรมีจัดกิจกรรมระดมทรัพยากรงบประมาณที่หลากหลาย และเหมาะสมกับบริบทโรงเรียน 4) ควรจัดกิจกรรมนันทนาการกับกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียน 5) ควรรายงานผลการนำงบประมาณไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของการบริจาค 2.2 แนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ 1) โรงเรียนควรวางแผนและกำหนดนโยบาย ศึกษานโยบายรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอื่น ๆ ร่วมด้วย และประชุมร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสีย ในการวางแผนการดำเนินงานระดมทรัพยากรของโรงเรียน และ 2) ในการบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์ภายหลังที่ได้รับการสนับสนุนโรงเรียนควรดำเนินการนำวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แต่งตั้งคณะกรรมการให้มีการดำเนินการใช้วัสดุอย่างเป็นระบบ คุ้มค่า ประหยัด ประเมินผลก่อนใช้ ระหว่างใช้ และหลังใช้งาน
Abstract
This research is a mixed research with the objective of studying the problems and approaches to mobilize educational resources of the educational opportunity expansion schools under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 Subjects include school administrators and teachers. Affiliated with Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 about 237 persons, The target group of experts is school administrators, teachers academic administrators 7 persons. Quantitative data using a 5 - level scale questionnaire have a classification power value between 0.42 and 0.77 and a confidence value of 0.97, Analyze data using mean and standard deviation. Qualitative data is collected using interviews, content analysis, and descriptive presentations. The research has found that 1. The problem of mobilizing educational resources of the educational opportunity expansion schools under Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 is moderate, It was also found that the problem areas with an average higher the total average were budget resources and material resources. 2. Guidelines for the mobilization educational resources of the educational opportunity expansion schools under Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 2.1 In terms of budgetary resources, 1) there should be a study, analysis, and target group for resource mobilization by collecting data on who have donated and who is expected to donate. e.g. feasibility studies 3) Various budget mobilization activities should be organized that are appropriate to the school context 4) Recreation activities should be organized with groups of people who have good relations with the school 5) The results of the budget should be reported according to the purpose of the donation. 2.3 Guidelines for mobilizing educational resources of the educational opportunity expansion schools under Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 in terms of material resources and equipment are: 1) Schools should plan and formulate policies. Study of Government Policy, Ministry of Education Other ministries participated and held meetings with stakeholders. and 2) in the management of materials after receiving support, schools should implement the materials received in accordance with the objectives. Worth it. Economical, evaluate before, during and after use.
คำสำคัญ
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, การบริหาร, ทรัพยากรทางการศึกษาKeyword
The Educational Opportunity Expansion Schools, Administration, Educational Resourcesกำลังออนไลน์: 36
วันนี้: 1,033
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,541
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093