บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดตัวบ่งชี้โรงเรียนแห่งความสุข ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้โรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระเบียบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 700 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากจำนวนตัวแปรต้องการประมาณค่า โดยกำหนดที่ 20 คน ต่อการประมาณค่าหนึ่งตัวแปร และกลุ่มเป้าหมายสำคัญ จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวบ่งชี้โรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยองค์ ประกอบหลัก 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนักเรียน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบรอง 29 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านผู้บริหาร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบรอง 24 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านครูและบุคลากร ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบรอง 38 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการบริหารและการจัดการ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบรอง 16 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบรอง 16 ตัวบ่งชี้ และ 6) ด้านครอบครัวและชุมชน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ 2. ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้โรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้องกัน (Chi - square = 584.07 df = 224 ค่า P - value = 0.942 ค่า GFI = 0.99 ค่า AGFI = 0.99 ค่า RMSEA = 0.001) เป็นไปตามสมมติฐาน 3. แนวทางการพัฒนาโรงเรียน จากตัวบ่งชี้โรงเรียนแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 2 ส่วน ได้แก่ 1) แนวทางร่วมกันของตัวบ่งชี้ทุกด้านมี 3 แนวทาง และ 2) แนวทางเฉพาะตัวบ่งชี้แต่ละด้าน มี 16 แนวทาง
Abstract
The research objectives include: 1) examining the conceptual framework for the School Happiness Indicator, 2) establishing and confirming the structural relationship model of the School Happiness Indicator, and 3) proposing guidelines for promoting school happiness within the Northeast Primary Education Area Office. A mixed - methods approach was employed, incorporating quantitative research for exploratory data collection and qualitative research through focus group discussions. The questionnaire utilized a 5 - level estimation scale with a IOC of 0.60 - 1.00 and a reliability of 0.99. The sample comprised 700 participants, with sample size determined based on the number of variables and estimation targets. And a key informant of 10 persons. Quantitative data analysis by averaging, standard deviation, and confirmatory component analysis, and qualitative data by content analysis. The research findings are as follows: 1. The School Happiness Indicator for schools under the Northeast Primary Education Area Office consists of six main components: 1) student (29 indicators across five sub - elements), 2) management (24 indicators across four sub - elements), 3) teachers and staff (38 indicators across six sub - elements), 4) administrative and governance (16 indicators across four sub - elements), 5) environment (16 indicators across three sub - elements), and 6) family and community (13 indicators across two components). 2. The structural relationship model of the School Happiness Indicator for schools under the Northeast Primary Education Area Office demonstrates a high level of consistency and goodness – of - fit (Chi - square = 584.07, df = 224, P - value = 0.942, GFI value = 0.99, AGFI value = 0.99, RMSEA value = 0.001), confirming the proposed assumptions. 3. The guidelines for school development based on the School Happiness Indicator within the Northeast Primary Education Area Office consist of two parts: a) three common approaches applicable to all indicators, and b) 16 indicator - specific guidelines tailored to each component.
คำสำคัญ
โรงเรียนแห่งความสุข, การพัฒนาตัวบ่งชี้, โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือKeyword
School Happiness, Development indicators, Schools under the Northeastern Primary Education Area Officeกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 1,019
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,527
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093