...
...
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2567
หน้า: 164-174
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 13
Download: 7
Download PDF
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
Transformational Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of Teacher Performance Under Kalasin Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง
สุภาพร วงค์หนายโกด, วัฒนา สุวรรณไตรย์, ระภีพรรณ ร้อยพิลา
Author
Supaporn Wongnaikod, Watana Suwannatrai, Rapeepan Roypila

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 307 คนจำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 84 คน และครูผู้สอน จำนวน 223 คน จากจำนวน 84 โรงเรียนโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์คุณภาพของแบบสอบถาม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.312 - 0.923 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.984 และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.498 - 0.841 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.948 ค่าคุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.059 - 0.917 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.987 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการของ Scheffe’s method หรือ LSD. ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และอำนาจพยากรณ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน พบว่าจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน  5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (rxy  = 0.924)  6. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า มี 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนี้ 1) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา 2) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 3) ด้านการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 4) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ได้ร้อยละ 86.4 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.20100 7. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเสนอแนะไว้ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ผู้บริหารต้องมีวิธีการใหม่ ๆ ในการสนับสนุนสร้างความเชื่อมั่นแก่ครูพัฒนาครู และส่งเสริมทุก ๆ ด้าน 2) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีดึงศักยภาพที่โดดเด่นของครูและบุคลากรในการทำงานให้สำเร็จ 3) ด้านการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหารและครูควรศึกษาหาความรู้อยู่ตลอกเวลา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC) 4) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ผู้บริหารสร้างเจตคติที่ดีกระตุ้นให้เพื่อนร่วมงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางใหม่ ๆ

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare and identify the relationship and establish guidelines for developing Transformational Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of Teacher Performance Under Primary Educational Service Area Office 3, according to the opinions of school administrators, and teachers classified by positions, work experience, and school sizes. The sample consisted of 84 school administrators and 223 teachers, yielding a total of 307 participants from 84 schools, selected through a multi -stage random sampling in the 2022 academic year. The research tools comprised sets of 5 rating scale questionnaires with discriminative values from 0.059 to 0.917 and the reliability of 0.987, and the level of the effectiveness of teacher performance values with discriminative values from 0.488 to 0.841.and the reliability of 0.948.The statistics for data analysis comprised percentage, mean and standard deviation, t - test and One - Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient and Scheffe’s method or L.S.D. for pair comparisons were also employed and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings were as follows: 1. The transformational leadership of school administrators was at overall at a high level. 2. The effectiveness of teacher performance was overall at a high level. 3. The transformational leadership of school administrators, according to the opinions of school administrators and teachers, classified by tenure status and classified by school size, were not different overall and the work experience was significantly different at the .05 level. 4. The effectiveness of school teachers' work performance, according to the opinions of school administrators and teachers, was found to be no different when classified according to job position, school size and work experience. 5. The transformational leadership of school administrators and the teachers’ performance showed  a positive relationship at the .01 level of significance with a highest level (rxy  = 0.924). 6. The transformational leadership of school administrators affecting the effectiveness of teachers performance comprised four aspects, namely 1) Intellectual Stimulation, 2) Idealized Influence 3) Being Learning people and 4) shared vision Professional Development, The aspect of with the predictive power at 86.4 percent and the standard error of estimate of ± 0.20100. 7. In this research, the guidelines for developing transformational leadership of school administrators were proposed in four aspects: 1) Intellectual Stimulation, 2) Idealized Influence, 3) Being learning people and 4) Shared vision.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู

Keyword

Transformational Leadership, Effectiveness of Teacher Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093