...
...
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2567
หน้า: 153-163
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 12
Download: 5
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
School Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Teacher Performance Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
ภูวณน ถามูลแสน, สุรัตน์ ดวงชาทม, ทัศนา ประสานตรี
Author
Phuwanon Thamoonsaen, Surat Duangchatom, Tatsana Prasantree

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ของอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 330 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2566 จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 72 คน และครู จำนวน 258 คน จาก 72 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.332 - 0.813 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.962 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.729 - 0.908 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.963 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.979 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก  4. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rXY = 0.728) 6. ปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษา จำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และด้านสื่อ เทคโนโลยี โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 57.60 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .28944 7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู เสนอแนะไว้ จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีและแผนพัฒนาโรงเรียนให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ กำหนดผู้รับผิดชอบในโครงการ พร้อมแนวทางการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน 2) ด้านสื่อ เทคโนโลยี ส่งเสริมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูและบุคลากรในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยี พร้อมจัดหาสื่อ เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณภาพ เพียงพอและพร้อมต่อการใช้งาน

Abstract

This research aimed to examine, compare, and identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing school administrative factors affecting the effectiveness of teacher performance under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample consisted of 330 participants, including 72 school administrators, and 258 teachers from 72 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in the 2023 academic year. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s Table, and multi-stage random sampling. The tools for data collection were sets of 5 - rating scale questionnaires, including a set on school administrative factors, with the discriminative power ranging from .332 to .813 and the reliability of .962, and a set on the effectiveness of teacher performance, with the discriminative power ranging from .448 to .789, and the reliability of .963. The reliability of the entire questionnaire set was determined to be .979. The structured interview was also conducted to examine the guidelines for developing school administrative factors. Data analysis statistics included frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test, One - Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.  The findings were as follows: 1. School administrative factors, as perceived by school administrators and teachers, were overall at a high level. 2. School administrative factors, as perceived by school administrators and teachers with different positions and school sizes, were different at the .01 level of significance overall, whereas, in terms of work experience, there were no differences overall.  3. The effectiveness of teacher performance, as perceived by school administrators and teachers, was overall at a high level. 4. The effectiveness of teacher performance, as perceived by school administrators, and teachers with different positions, and work experience, overall showed differences at the .01 level of significance, whereas, in terms of school sizes, there were no differences overall.  5. School administrative factors and the effectiveness of teacher performance demonstrated a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rXY = 0.728).  6. School administrative factors comprising two aspects: Strategy, Vision, and Goals, and Media Technology, could predict the effectiveness of teacher performance at the .01 level of significance, with the predictive power of 57.60 percent, and a standard error of estimate of ±.28944. 7. The proposed guidelines for developing school administrative factors affecting the effectiveness of teacher performance consisted of two aspects: Strategy, Vision, and Goals: Implementing annual operational plans and school development plans to ensure completeness and comprehensiveness, assigning individuals in charge of the projects, and providing clear implementation guidelines; and 2. Media Technology: Promoting workshops to enhance teachers’ and personnel’s skills in technology utilization, along with providing modern, qualified, sufficient, and readily available media and technology resources.

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู

Keyword

School Administrative Factors, Effectiveness of Teacher Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093