บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในปีการศึกษา 2566 จำนวน 328 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 101 คน และครูผู้สอน จำนวน 227 คน จากจำนวน 101 โรงเรียน วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .351 - .763 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .797 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .328 - .639 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .918 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกันจำแนกตามขนาดโรงเรียนและจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X) กับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน (Y) มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับปานกลาง (rXtYt = 0.694) 6. ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านภาวะผู้นำดิจิทัล (X4) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X1) ด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม (X3) และด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (X2) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 62.5 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.23789 7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านภาวะผู้นำดิจิทัล ผู้บริหารควรมีอุดมการณ์ของการเปลี่ยนแปลง มีการปรับตัว เข้าใจ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ให้เกียรติ เคารพ ศรัทธา และไว้วางใจ ทำให้ผู้ร่วมงานมีความสบายใจ 2) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการวางแผนร่วมกัน สร้างทีมงานให้มีคุณภาพ มีเป้าหมายร่วมกัน เลือกคนให้เหมาะสมกับงาน จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี 3) ด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น 4) และด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารควรมีทักษะและเข้าใจในการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยี สนับสนุนและช่วยเหลือบุคลากรในการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพ
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship, identify predictive power, and establish guidelines for enhancing administrators’ leadership affecting the effectiveness of administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3, as perceived by school administrators, and teachers, classified by positions, school sizes, and work experience. The research employed a correlational research design with a sample of 328 participants, including 101 school administrators and 227 teachers from 101 schools during the academic year 2023. The sampling method used was multi-step random sampling. The research utilized questionnaires and interview forms as data collection tools. The questionnaire on administrators’ leadership demonstrated the discriminative power value ranging from .351 to .763, with the reliability of .797. Similarly, the questionnaire assessing the effectiveness of school administration showed the discriminative power value between .328 and .639, with the reliability of .918. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t - test statistics, One - way analysis of variance, Pearson’s product - simple correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The research results revealed that: 1. The administrators’ leadership was overall at the highest level. 2. The effectiveness of school administration was overall at the highest level. 3. The administrators’ leadership, as perceived by school administrators and teachers, varies significantly based on participants’ positions and school sizes, with a significance level of .01. However, overall, there were no significant differences in terms of work experience. 4. The overall effectiveness of school administration, as perceived by participants’ positions, showed no differences. Regarding school sizes and work experience, overall, there were significant differences at the 01 level of significance. 5. The administrators’ leadership (X) and effectiveness of school administration (Y) exhibited a statistically significant positive relationship at the .01 level, with a moderate correlation coefficient of rXtYt = 0.694. 6. The administrators’ leadership could predict the effectiveness of school administration with statistical significance at the .01 level. These aspects included digital leadership (X4), transformational leadership (X1), ethical leadership (X3), and participatory leadership (X2), with the predictive power of 62.5 percent, with the standard error of estimate of ±0.23789. 7. The proposed guidelines for developing administrators’ leadership that affected the effectiveness of school administration, suggested four aspects: (1) Digital leadership Administrators should embrace change, adapt, understand, learn new things, honor, respect, believe, and trust, creating a comfortable environment for coworkers; (2) Transformational leadership Collaborative planning, building a high - quality team, setting common goals, and selecting suitable personnel that will lead to good outcomes; (3) Ethical leadership utilizing good governance principles in administration, demonstrating a good example of ethical behavior; and (4) Participatory leadership Administrators should possess skills in managing work using technology, provide support, and help personnel work efficiently.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนKeyword
Leadership of Administrators, Effectiveness of School Administrationกำลังออนไลน์: 28
วันนี้: 1,022
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,530
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093