บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะการคาดการณ์อนาคตของผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคกลาง 2. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะการคาดการณ์อนาคตของผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคกลาง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคกลาง ในปี พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งหมด 108 คน ด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจงโดยแบ่งเป็น ศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 10 คน รองศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 13 คน และผู้อำนวยการกลุ่มหรือผู้อำนวยการหน่วย จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรง นำแบบสอบถามไปทดลอง (Try out) กับบุคคลที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน หาความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามทั้งฉบับตามวิธีของ Cronbach ได้ค่า 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะการคาดการณ์อนาคตของผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.29) และอยู่ในระดับมาก ( = 4.39) ตามลำดับ 2. ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะการคาดการณ์อนาคตของผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคกลางที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การกำหนดกรอบเป้าหมาย (PNImodified = 0.38) รองลงมาลำดับที่ 2 คือ การคิดเชิงอนาคต (PNImodified = 0.37) และลำดับที่ 3 คือ การมีวิสัยทัศน์ และการออกแบบ (PNImodified = 0.33)
Abstract
The purposes of research were: 1. To study the current situation and the desirable conditions of developing foresight competency of Executive Provincial Education Office in Central Region 2. To study the need for developing foresight competency of Executive Provincial Education Office in Central Region. The data were collected from 108 people in the 2022 from 10 provincial education officers, 13 deputy provincial education officers and 85 directors of group or directors of unit, as determined by purposive sampling. The research instrument used in this study was 5 – rating - scale questionnaire. The tool quality was assessed by 3 experts to verify content validity. The questionnaire was tried out with 30 people excepting the sample group. Reliability by finding the alpha coefficient of the whole questionnaire according to Cronbach's method was 0.95. The data were analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified). The research results were found that: 1. The current situation for developing foresight competency of Executive Provincial Education Office in Central Region was at the medium level ( = 3.29) and the desirable conditions of Executive Provincial Education Office in Central Region was at the high level ( = 4.39). 2. The first need for developing foresight competency of Executive Provincial Education Office in Central Region was the framing (PNImodified = 0.38). The second need was the futuring (PNImodified = 0.37). The third need was the visioning and the designing (PNImodified = 0.33)
คำสำคัญ
สมรรถนะการคาดการณ์อนาคต, การพัฒนาผู้บริหาร, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดKeyword
Foresight Competency, Executive Development, Provincial Education Officeกำลังออนไลน์: 461
วันนี้: 1,490
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,998
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093