...
...
เผยแพร่: 11 ก.ค. 2562
หน้า: 156-165
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 433
Download: 175
Download PDF
ประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดยโสธร
Yasothorn Provincial Strategic Implementation Efficiency
ผู้แต่ง
ศิลป์ ชื่นนิรันดร์, สุเทพ เมยไธสง, สัญญา เคณาภูมิ, ภักดี โพธิ์สิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดยโสธร ว่าจะมีระดับประสิทธิภาพเป็นอย่างไร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดยโสธร ว่าจะมีปัจจัยด้านใดที่ส่งผลให้การบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดมีประสิทธิภาพมากที่สุด 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ในการบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดยโสธร และหาแนวทาง ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในส่วนของระเบียบวิธีการวิจัย ได้ศึกษาวิจัยแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยข้าราชการสังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาค 6 กระทรวง จำนวน 200 คน ประชาชนทั่วไป จำนวน 200 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 400 คน กำหนดระดับความเชื่อมั่นไว้ที่ระดับร้อยละ95 โดยใช้สูตรในการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane (1967) และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน  การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามข้อเท็จจริงของข้อมูลในลักษณะการวิเคราะห์แบบอุปนัย

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดยโสธร โดยรวม และจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านการจัดการ (\bar{x} = 3.62) อยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านเทคโนโลยี (\bar{x} =3.40) รองลงมา คือ ด้านโครงสร้างองค์กร (\bar{x} =3.29) ด้านการประสานงาน (\bar{x} = 3.29) ด้านวัสดุ (\bar{x} = 3.23) และด้านงบประมาณ (3.16) ตามลำดับ

2. ระดับประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดยโสธร โดยรวมและจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x} =3.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน (\bar{x} = 3.59) อยู่ในระดับปานกลาง 8 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีทุกภาคส่วน รองลงมาคือ ด้านส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ด้านยกระดับคุณภาพชีวิต ด้านพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรมและวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านความมั่นคง สงบเรียบร้อย ด้านอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก ตามลำดับ

3. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปรับปรุง พบว่า 1) การบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดยังขาดการบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ การดำเนินงานในบางยุทธศาสตร์ยังไม่เป็นไปในแนวทางการปฏิบัติงานแบบบูรณาการ ขาดการประสานงาน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกันระหว่างกิจกรรมของโครงการภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน ซึ่งสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการที่ส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดยังคงมีวัฒนธรรมการปฏิบัติแบบต่างฝ่ายต่างปฏิบัติ 2) ด้านงบประมาณมีไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่ได้รับงบประมาณตามที่ขอรับการสนับสนุน 3) ด้านโครงสร้างองค์กร เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับโครงสร้างของส่วนราชการหลายแห่ง ภายใต้การปฏิรูประบบราชการ มีการยุบรวมส่วนราชการบางแห่ง รวมทั้งส่วนราชการหลายแห่งได้รับการจัดตั้งใหม่ แต่มีปัญหาที่เกิดขึ้น คือส่วนราชการที่ตั้งขึ้นใหม่บางแห่งขาดความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจ เช่น เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใน และเจ้าหน้าที่มีจำนวนน้อย 

สำหรับแนวทางการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้การบริหารยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น  พบว่ามีแนวทางการพัฒนาโดยเพิ่มจุดแข็งให้จังหวัดมีเอกภาพมากขึ้นโดย 1) ส่วนกลางต้องมอบอำนาจให้แก่จังหวัดอย่างชัดเจนและครบถ้วน 2) กำหนดยุทธศาสตร์ของส่วนราชการในส่วนกลางและจังหวัดให้สัมพันธ์กันเพื่อให้การส่งเสริม สนับสนุน และบูรณาการได้ 3) ส่วนกลางต้องสนับสนุนให้ส่วนราชการในส่วนภูมิภาคได้มีความพร้อม
และมีศักยภาพในด้านต่างๆ เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Abstract

The objectives of this research were : 1) to study the efficiency 0f provincial strategic implementation of Yasothorn Province. 2) to analyze and find out the efficient administrative factors of provincial strategic implementation plan and 3) to analyze the problems and obstacles of strategic provincial development plans for seeking its way to promote efficiency of provincial strategic implementation.

In this research, the quantitative and qualitative were used as research performants. Statistical data were used to analyze statistics and ensure consistency of style causal relationship with SPSS.

The results from the study revealed the efficient factors of provincial administration as following :

1. According to the samplers viewed as a whole were at average but for each factors were considerately found at a high level only strategic management factor. The other 5 factors were average : Technology , Organization Structure, Coordination, Material, and Budget for the last one at 3.16.

2. Provincial strategic efficient implementation consider as a whole were average at 3.25 but for each strategic plans were considered at high level only Tourism Trade and Investment promotion at 3.59.  The other 8 strategic plans were at average.

3. The obstacles and problems under strategic administration that effected the efficiency were : (1) The integrative action plan among agencies in the province were hardly found, the same as coordination and overlap among duties and functions.  (2) Insufficient budget and materials to support the implement process. (3) Lacking of personnel and professional administrator in some governmental units.

In this research found 3 ways to increase the efficiency of province administration: 1. The central government should support and delegate sufficient authority to the provincial administrator. 2. The strategic plans between central agencies and province need to be coordinated, in term of integration and reinforcement for the benefit of strategic implementation.  3. The central government must support and rely on unity of command on the way of governor’s administration.

คำสำคัญ

ประสิทธิภาพ, ยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด

Keyword

Efficiency, Provincial Strategy

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093