บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามขนาดของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ปีการศึกษา 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบเอฟ (F – test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการทดสอบเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี LSD. ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามขนาดสถานศึกษา เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารในโรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สูงกว่าค่าเฉลี่ยในโรงเรียนขนาดเล็ก และภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารในโรงเรียนขนาดกลางสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The objectives of this research were: 1) to study current conditions of school administrators’ learning leadership. 2) to compare school administrators’ learning leadership by size of school under the Surin Primary Educational Service Area Office 1 in academic year 2022. There were 330 school administrators and heads of academic administrator. The research tool was a questionnaire checklist with an Index of Concordance (IOC) between 0.80 to 1.00 and a confidence value of (Cronbach’s Alpha coefficient) 0.98. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation. In addition, F - test, One - Way ANOVA, and Fisher's Least Significant Difference (LSD) were applied for a hypothesis testing. The findings indicated that: 1. The overall appropriateness of components of school administrators’ learning leadership is overall and in every aspect, the average was at a high level. 2. According to a comparison of school administrators’ learning leadership by size of school, the study revealed that there is a significant difference of school administrators’ learning leadership at .05 of statistical level. The average learning leadership of administers in large schools and extra - large schools is significantly higher than administrators in small-sized schools and the average administrators’ learning leadership of administrators in medium - sized schools is significantly higher than administrators in small - sized schools at .05.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเรียนรู้Keyword
Learning Leadershipกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 1,044
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,552
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093