...
...
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2567
หน้า: 72-82
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 25
Download: 15
Download PDF
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Administrative Factors Affecting the Success of Internal Quality Assurance Performance in Schools Under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้แต่ง
สุทธิชัย แสนท้าว, ไชยา ภาวะบุตร, ปัทมา จันทพันธ์
Author
Suttichai Santhao, chaiya Pawaloctra, pattama chantapan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 346 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียน 45 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 38 คน หัวหน้างานวิชาการ 45 คน และครูผู้สอน 218 คน จากจำนวน 45 โรงเรียน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารและความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบเอฟ (F - test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการบริหารตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยการบริหาร ตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 346 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียน 45 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 38 คน หัวหน้างานวิชาการ 45 คน และครูผู้สอน 218 คน จากจำนวน 45 โรงเรียน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารและความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบเอฟ (F - test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการบริหารตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  2. ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  3. ปัจจัยการบริหาร ตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน  4. ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยการบริหาร (Xt) และความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (Yt) พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy = .855) 6. ปัจจัยการบริหาร ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 5 ด้าน พบว่ามีจำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้ ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X1) ด้านการพัฒนาบุคลากร (X2) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร (X5) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X4) โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 76.70 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.231 7. แนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร พบว่าผู้บริหารมีความสามารถในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรในองค์กรได้อย่างชัดเจน ด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่าควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมประชุมสัมมนาจากหน่วยงานต่าง ๆ ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร พบว่าบุคลากรเห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกันจะพัฒนาสถานศึกษาร่วมกันคิด ร่วมทำและร่วมรับผิดชอบต่อองค์กร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and identify the relationship and the predictive power, and establish guidelines for developing the administrative factors affecting the success of internal quality assurance performance in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. The sample consisted of 45 school directors, 38 deputy directors, 45 heads of academic affairs departments, and 218 teachers from 45 schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon in the academic year 2023. The sampling techniques employed in research, including stratified random sampling and simple random sampling. Data collection involved administering a set of questionnaires addressing administrative factors and assessing the success of the educational quality assurance performance in schools. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, One - Way ANOVA F - test, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The administrative factors as perceived by participants were, overall and in each aspect, at a high level. 2. The perceived success of internal quality assurance performance in schools was rated overall at a high level, with each aspect being rated at either a high or the highest level. 3. The administrative factors as perceived by participants with different positions, overall show differences at the .01 level of significance. In terms of school sizes and work experience, there were no differences overall and in each aspect. 4. The success of educational quality assurance performance in schools as perceived by participants with different positions showed differences overall at the .01 level of significance. In terms of school sizes and work experience, there was no difference. 5. The administrative factors (Xt) and the success of the educational quality assurance performance in schools (Yt) showed a positive correlation at the .01 level of significance, with a high level at r = 0.855. 6. The analysis of five administrative factors found that only four aspects of the administrative factors could predict the success of the educational quality assurance performance in schools. These aspects included administrators’ leadership (X1), personnel development (X2), organizational atmosphere and culture (X5), and Information Technology (X4), with the predictive power at 76.70 percent and the standard error of estimate of ±.231. 7. The guidelines for developing administrative factors affecting the success of the educational quality assurance performance in schools propose four aspects for improvement: Administrators’ Leadership: Administrators prioritize effective communication and foster understanding of work performance among personnel and possess strategic leadership with a broad vision, setting clear goals for the organizations. Personnel Development: Administrators should support personnel in attending seminars offered by various organizations. Organizational Atmosphere and Culture: Personnel are encouraged to collaborate in developing schools, emphasizing shared thinking, action, and responsibility within organizations. Information Technology: Administrators are advised to use modern technology for data collection, transfer, and dissemination of information.

คำสำคัญ

ปัจจัยการบริหาร การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

Keyword

Administration Factors, Educational Quality Assurance in Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093