บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์อำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 279 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 71 คน และครูผู้สอน จำนวน 208 คน ปีการศึกษา 2566 การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.41 – 0.79 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32 – 0.75 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ทดสอบค่าเอฟ แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สันการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ตอนที่ 2 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (rXY = 0.551) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีจินตนาการและด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยพยากรณ์คิดเป็นร้อยละ 32.90 7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีจินตนาการ โดยผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการคิดสร้างภาพขึ้นในจิตใจอย่างอิสระ ที่แตกต่างจากเดิมเกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์โดยผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความสามารถที่จะนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ จากการบูรณาการเชื่อมโยงจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing administrators’ creative leadership affecting the effectiveness of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Buengkan. The sample consisted of 279 participants, including 71 school administrators and 208 teachers in the 2023 academic year, obtained through multi - stage random sampling. This research was divided into two parts: Part 1 investigated administrators’ creative leadership affecting the effectiveness of school administration, as perceived by school administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The research instruments included a set of questionnaires on administrators’ creative leadership with discriminative power values ranging from 0.41 to 0.79 and the reliability of 0.98, and the effectiveness of school administration with discriminative power values ranging from 0.32 to 0.75 and the reliability of 0.97. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test, one - way ANOVA F - test, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. Part 2 examined guidelines for developing administrators’ creative leadership affecting the effectiveness of school administrations through expert interviews using content analysis. The findings were as follows: 1. The creative leadership of administrators was overall at a high level. 2. The effectiveness of school administration was overall at the highest level. 3. The overall administrators’ creative leadership, as perceived by participants with different positions, revealed a statistically significant difference at the .01 level. When considering school sizes overall, as a whole, there was a difference at the .05 level of significance. However, there was no difference in creative leadership concerning work experience, overall. 4. The effectiveness of school administration, as perceived by participants with varying positions, as a whole, showed a difference at the .01 level of significance. There was no significant difference in school sizes and work experience, both overall and in each aspect. 5. The administrators’ creative leadership showed a positive relationship with the effectiveness of school administration at the .01 level of significance with a moderate level of correlation coefficient (rxy = .551) 6. The five aspects of administrators’ creative leadership were analyzed and only two aspects, namely Imagination, and Creative Thinking, could predict the effectiveness of school administration at the .01 level of significance. The combined predictive power of all factors reached 32.90 percent. 7. This research has proposed appropriate guidelines for developing administrators’ creative leadership affecting the effectiveness of school administration across two aspects: Imagination - wherein school administrators should independently generate novel mental images divergent from the norm, fostering innovation and Creative Thinking - school administrators should possess abilities to integrate past knowledge and experiences toward innovative solutions.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนKeyword
Creative Leadership, Effectiveness of School Administrationกำลังออนไลน์: 45
วันนี้: 1,012
เมื่อวานนี้: 3,743
จำนวนครั้งการเข้าชม: 180,520
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093