...
...
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2567
หน้า: 51-60
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 20
Download: 14
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Relationship between Learning Organization and the Effectiveness of Learning Management of Teachers in Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
อัมรา จันเทา, สายันต์ บุญใบ, ภัทรดร จั้นวันดี
Author
Ammara Chanthao, Sayan Boonbai, Pataradron Junwandee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูและหาแนวทางพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 329 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 93 คน ครูผู้สอน จำนวน 236 คน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejci & Morgan โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi -Stage Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .339 - .656 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .918 และแบบสอบถามระดับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .563 - .663 มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .961 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน แบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า  1. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 5. ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยรวม (Xt) และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้โดยรวม (Yt)มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (rxtyt=.722)  6. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาประสิทธิผลความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำนวน 1 ด้าน คือ การมีรูปแบบทางความคิด โดยผู้บริหารสามารถจำแนกกระบวนการทางความคิด พิจารณา ทบทวน ไตร่ตรองสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจปฏิบัติงานการวางแผนการดำเนินการ ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้พัฒนาตนเองตามความรู้ ความสามารถ ความสนใจ และความถนัด

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship between being a learning organization and the effectiveness of teachers' learning management in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample consisted of 329 participants, including 93 school directors and 236 teachers working in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample size was determined using Krejcie and Morgan's ready - made Table, and multi-stage random sampling. The data collection tools included two sets of 5 - level rating scale questionnaires. The first set assessed the level of being a learning organization, demonstrating the discriminative power ranging from .339 to .656 and the reliability of .918. The second set evaluated the effectiveness of teachers’ learning management in schools, with the discriminative power values ranging from .563 to .663, and the reliability of .961. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test for Independent Samples, One - Way ANOVA, and Pearson's product-moment correlation coefficient analysis. The interviews were also employed to establish guidelines for developing a learning organization and assessing the effectiveness of teachers' learning management in schools.  The research results revealed that: 1. Being a learning organization, as perceived by participants, was overall at a high level. 2. The effectiveness of learning management, as perceived by participants, was overall at a high level. 3. Being a learning organization, as perceived by participants, classified by positions, school sizes and work experience showed no differences. 4. The effectiveness of learning management, as perceived by participants, classified by positions, school sizes and work experience showed no differences.  5. Being a learning organization (Xt) and the effectiveness of learning management (Yt) exhibited a significant positively correlation at the .01 level of significance, with a high level of correlation coefficient of rxtyt =.722. 6. This research has proposed guidelines for developing the efficiency of being a learning organization involving one aspect: Cognitive Styles: Administrators demonstrate the ability to engage in thinking process, thoughtful consideration, review, critical evaluation of various circumstances before making decisions related to operational performance and plans. School directors are advised to serve as promoters, supporters of teachers and personnel, fostering opportunities for self - development in terms of knowledge, abilities, interests, and aptitudes.

คำสำคัญ

ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้, ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครู

Keyword

Being Learning Organization, Effectiveness of Teachers' Learning Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093