...
...
เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2567
หน้า: 40-50
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 20
Download: 13
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Educational Management in Schools Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
วิชญ์พล เมืองโคตร, สุมัทนา หาญสุริย์, ชรินดา พิมพบุตร
Author
Wichapol Muangkhot, Sumattana Harnsuri, Charinda Pimpabud

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 345 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 80 คน ครูผู้สอน จำนวน 265 คน จากจำนวน 80 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.730 - 0.900 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการจัดการศึกษาโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก  3. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการจัดการศึกษาโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 5. ปัจจัยทางการบริหาร กับประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับความสัมพันธ์สูงสุด 3 อันดับแรก คือ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร กับด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านงบประมาณและทรัพยากร กับด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ และด้านการพัฒนาครูและบุคลากร กับด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ 6. ปัจจัยทางการบริหารที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ด้านภาวะผู้นำ ด้านงบประมาณและทรัพยากร และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 57.3 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .29700

Abstract

The purposes of this correlation research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing the administrative factors affecting the effectiveness of educational management in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by school administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The research sample consisted of 345 participants, including 80 school administrators and 265 teachers from 80 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, in the academic year 2023. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan Table and multi-stage random sampling. The tools for data collection included a set of 5-point scale questionnaires and interview forms. The questionnaire quality discriminative values of 0.730 - 0.900 and reliability of 0.954. Data analysis statistics consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t - test, One - Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.  The findings were as follows: 1. The administrative factors in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by participants, were overall at a high level. 2. The effectiveness of educational management in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by participants, was overall at a high level. 3. The administrative factors in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by participants with different positions, school sizes, and work experience, overall showed no differences. 4. The effectiveness of educational management in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by participants with different positions, school sizes, and work experience, showed no differences overall and in each aspect.  5. The administrative factors and the effectiveness of educational management in schools demonstrated a positive correlation at a high level (rXY = .734) with the .01 level of significance.  6. The administrative factors could jointly predict the effectiveness of educational management in schools at the .01 level of significance at 57.30 percent, with the standard error of estimate of ±.29700. 7. The researcher has proposed the guidelines for developing the administrative factors affecting the effectiveness of educational management in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 comprising four aspects needing improvement: Teachers and Personnel Development, Leadership, Budget and Resources, and Information Technology.

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน

Keyword

Administrative Factors, Effectiveness of Educational Management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093