...
...
เผยแพร่: 11 ก.ค. 2562
หน้า: 147-155
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 4338
Download: 389
Download PDF
แนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
Guidelines for Conflict Management of School under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
ณัฐพล จันทร์เกิด, สุพัฒนา หอมบุปผา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความขัดแย้งและหาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 การดำเนินการมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพความขัดแย้งในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 313 คนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามอำเภอที่สถานศึกษาสังกัดและขนาดสถานศึกษา แล้วกำหนดสัดส่วน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงที่ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) หาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยการทำการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อประเมินแนวทางการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษา และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 โดยภาพรวมมีความขัดแย้งอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความขัดแย้งสูงสุดคือ ด้านความขัดแย้งระหว่างบุคคล อันดับรองลงมา ได้แก่ ด้านความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม และปัญหาต่ำที่สุด คือ ด้านความขัดแย้งภายในตัวบุคคล

2. แนวทางการจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 มีดังนี้

2.1 ด้านความขัดแย้งภายในตัวบุคคล ได้แก่ จัดให้มีกิจกรรมที่ทำด้วยกันบ่อยๆ เน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ โดยผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นที่ปรึกษาที่ดี สามารถปรึกษาพูดคุย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง

2.2 ด้านความขัดแย้งระหว่างบุคคล ได้แก่ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนและให้รางวัลกับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ร่วมดำเนินการตามเป้าหมายของโรงเรียนจนสำเร็จ และเปิดช่องทางในการแสดงความคิดเห็นในหลากหลายช่องทางเพื่อลดการเผชิญหน้ากัน

2.3 ด้านความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ซักถามข้อข้องใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ โดยให้ความเสมอภาคกับทุกฝ่าย และจัดทำข้อมูลที่จะสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจตรงกัน

Abstract

The purposes of this study were to investigate the conflict situations and seek guidelines for the conflict management of the schools under the Office of Nakhon Sawan Primary Educational Service Area 1. The study consisted of two procedures. The first procedure was the investigation of the conflict situations in the schools. The samples were 313 instructors who were sampled with the stratified sampling method according to the districts where the schools located and the sizes of the schools. The sampling ratios were set with the simple sampling method. The data collection instrument is the questionnaire with the validity of .93. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean and standard deviation. The second procedure is the evaluation of the guidelines for the conflict management by having group conversations with seven experts in order to evaluate and analyze the proposed guidelines.

The results of the study showed that :

1. The overall level of the conflict situations in the school was low. In specific terms, it was found that the highest level is found in terms of inter-personal conflict. The second highest level was in terms of inter-group conflict. The lowest level was in terms of individuals’ internal conflict.

2. The guidelines for the conflict management were as follows.

2.1 In terms of individual’s internal conflict, group activities have to be regularly conducted. Teamwork needed to be focused in order to develop group relationships. The schools’ managers should be good consultants who could provide suggestions and improve others’ confidences.

2.2 Regarding inter-personal conflict, the instructors and other educational staff should participate in setting the schools’ visions. Those who involved in accomplishing the goals’ of the schools should be rewarded. Various channels for providing opinions should be provided in order to prevent confrontations.

2.3 For inter-group conflict, the schools’ managers should provide opportunities for the instructors and other educational staff to ask about information by providing fairness for all parties and written information in order to develop consistent understandings.

คำสำคัญ

ความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้ง

Keyword

Conflict, conflict management

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093