บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู 2) ศึกษาประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,224 คน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3, 2566, หน้า 8) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการครู จำนวน 297 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จของงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน 2. ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาตนเอง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านคุณภาพผู้เรียน 3. แรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ r = 0.570 เป็นความสัมพันธ์เชิงบวกและขนาดของความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
Abstract
This study aimed to 1) study the motivation of government teachers, 2) study the effectiveness of government teachers, and 3) study the relationship between motivation and effectiveness of government teachers under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 3. The population consisted of 1,224 government teachers under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 3, academic year 2023 (Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 3, 2023, page 8). The sample consisted of 297 government teachers and the sample size was determined using the Krejcie and Morgan table (Krejcie and Morgan, 1970) by simple random sampling. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with a reliability of .94. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), and Pearson’s Correlation Coefficient. a reliability of .94. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), and Pearson’s Correlation Coefficient. The study found that: 1. The motivation in working of government teachers in Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 3 in overall and in each aspect was at a high level. The aspect with the highest average was responsibility, followed by work success, and the lowest was job advancement. 2. The working effectiveness of government teachers in Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 3 in overall was at the highest level, and the aspect with the highest average was teamwork, followed by self-development, and the lowest was student quality. 3. The motivation and working effectiveness of government teachers in Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 3 were significantly related at the .01 level, with a correlation coefficient of r = 0.570, which was a positive relationship and the size of the relationship was at a moderate level.
คำสำคัญ
แรงจูงใจ, ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานKeyword
Motivation, Working Effectivenessกำลังออนไลน์: 24
วันนี้: 678
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 55,877
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093