...
...
เผยแพร่: 30 ก.ย. 2567
หน้า: 331-340
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 13
Download: 7
Download PDF
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และชุดความคิดเติบโตในการเรียน วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแนะให้รู้คิดร่วม กับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of mathematical problem solving ability and growth mindset in mathematics learning by organizing learning activities basedon cognitively guided instruction approach and achievement motivation theory for sixth grade students
ผู้แต่ง
ธิดารัตน์ แสงกล้า, พีชาณิกา เพชรสังข์
Author
Thidarat Sangkla, Pechanika Phetsang

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบชุดความคิดเติบโตในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไชยราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 47 คน ได้มาจากการสุ่มย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.28-0.75 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.23 - 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 3) แบบวัดชุดความคิดเติบโตในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ชุดความคิดเติบโตในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จากการวัดพัฒนาการของนักเรียน 3 ครั้งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยมีคะแนนเฉลี่ย 0.47, 0.70, 0.83 ตามลำดับ

Abstract

The purposes of this research were to 1) compare the mathematical problem solving ability of students being taught by organizing learning activities based on cognitively guided instruction approach and achievement motivation theory between before and after learning, 2) compare the growth mindset in mathematics learning of students being taught by organizing learning activities based on cognitively guided instruction approach and achievement motivation theory between before and after learning, and 3) study the development of mathematical problem solving ability of students being taught by organizing learning activities based on cognitively guided instruction approach and achievement motivation theory. Research sample consisted of 47 sixth grade students at Ban Chairach School in the first semester of the academic year 2023 by the purposive sampling. The research instruments were 1) lesson plans using organizing learning activities based on cognitively guided instruction approach and achievement motivation theory. 2) mathematical problem solving ability tests (p = 0.28 - 0.75, r = 0.23 -0.82, reliability 0.98) 3) growth mindset in mathematics learning test (reliability = 0.98) and 4) mathematical problem solving observation forms (IOC = 1.00). The data were analyzed by using mean, standard deviation, and content analysis. The results showed that;  1. Mathematical problem solving ability of students being taught by organizing learning activities based on cognitively guided instruction approach and achievement motivation theory were higher than those before at the .05 level of significance. 2. Growth mindset in mathematics learning of students being taught by organizing learning activities based on cognitively guided instruction approach and achievement motivation theory were higher than those before at the .05 level of significance. 3. Mathematical probem solving of students from 3 observations showed a trend of improvement with average 0.47, 0.70, and 0.83, respectively

คำสำคัญ

ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ชุดความคิดเติบโตในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, แนวการสอนแนะให้รู้คิด, ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

Keyword

Mathematical problem solving ability, Growth mindset in mathematics learning, cognitively guided instruction approach, achievement motivation theory.

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093