บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 315 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 78 คน และครูผู้สอน จำนวน 237 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .560 - .839 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .976 และแบบสอบถามระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .420 - .805 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ชนิดกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน การทดสอบค่าเอฟ ชนิด การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนพบว่า 2.1 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม (Xt) กับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษาโดยรวม (Yt) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (rxtyt = .416) 4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 4 ด้าน พบว่า ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล (X3) และด้านการสื่อสารดิจิทัล (X4) สามารถพยากรณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษาโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (X1) สามารถพยากรณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษาโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 3 ด้าน ที่มีอำนาจพยากรณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษาโดยรวม คือ 5.1 ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล (X3) ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายในการที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา 5.2 ด้านการสื่อสารดิจิทัล (X4) ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการติดต่อสื่อสารและประสานงานต่าง ๆ 5.3 ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (X1) ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ในด้านดิจิทัล เพื่อที่จะสามารถกำหนดกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้ในการบริหารสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม
Abstract
The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for digital leadership of school administrators affecting the Information Technology (IT) utilization for administration in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The sample consisted of 315 participants, including 78 school administrators, and 237 teachers during the 2023 academic year. The sample size was determined by Krejcie & Morgan’s sampling table and multi-stage sampling. Data were collected using two sets of 5 - point rating scale questionnaires: The first questionnaire assessed digital leadership among school administrators, with a discriminative power ranging between 560 and .839, and the reliability of .976. The second questionnaire evaluated IT utilization for administrative purposes in schools, with a discrimination power ranging between .420 and .805, and the reliability of .976. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, t - test for Independent Samples, F - test for one -way analysis of variance, Pearson’s correlation coefficient Analysis, and Stepwise multiple regression analysis. Interview forms on the guidelines for developing digital leadership of school administrators affecting IT utilization for school administration were also incorporated as a research tool. The findings were as follows: 1. The digital leadership of school administrators and IT utilization in school administration was at the highest level in both variables overall and each aspect. 2. The perceived digital leadership of school administrators and IT utilization in school administration, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience overall showed no differences. 3. The digital leadership of school administrators and IT utilization for school administration had a positive relationship at the .01 level of significance with a moderate correlation (rxtyt = .416). 4. The digital leadership of school administrators consisting of four aspects was analyzed and revealed that cultivating digital culture (X3) and digital communication (X4) significantly predicted IT utilization for school administration overall at the .01 level of significance. The digital vision (X1) was also able to predict IT utilization for school administration overall at the .05 level of significance, with a predictive power of 16.60 percent. 5. The guidelines for developing digital leadership of school administrators encompassed three aspects that could predict the efficacy of IT utilization in school administration, namely: 5.1 Cultivating a Digital Culture (X3): Administrators are advised to establish policies for selecting appropriate IT that facilitate task performance within the school context. 5.2 Digital communication (X4): Administrators are encouraged to promote and support personnel in utilizing digital technology for effective communication and coordination across various matters. 5.3 Digital vision (X1): Administrators need to cultivate a digital vision to formulate and implement appropriate strategies for school management.
คำสำคัญ
ภาวะผู้นำดิจิทัล, การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารงานสถานศึกษาKeyword
Digital Leadership, Information Technology Utilization, School Administrationกำลังออนไลน์: 33
วันนี้: 589
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 55,788
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093