บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) หาแนวทางพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กลุ่มเป้าหมายมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้วิจัย 11 คน ได้แก่ ผู้วิจัยและบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน 10 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 14 คน ได้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 คน วิทยากร 1 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 5 คน และประธานคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านถ่อน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จากการศึกษาปรากฏผล ดังนี้
1.1 สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กยังไม่ได้ดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากยังไม่การพัฒนาศักยภาพบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการทำวิจัยในชั้นเรียน
1.2 ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กยังขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดทักษะในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน ทำให้ไม่สามารถทำการวิจัยในชั้นเรียนได้
2. แนวทางพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในครั้งนี้ ในวงรอบที่ 1 มี 2 แนวทางพัฒนา คือ 1) อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) การนิเทศติดตาม ในวงรอบที่ 2มีแนวทางพัฒนา คือ การนิเทศติดตามผลการพัฒนา ให้คำแนะนำ ปรึกษา ช่วยเหลือเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู)ในการทำวิจัยในชั้นเรียน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนตามกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหา 2) การกำหนดวิธีการในการแก้ปัญหา 3) การพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรม 4) การนำวิธีการหรือนวัตกรรมไปใช) และ 5) การสรุปผล ตลอดจนสามารถเขียนเค้าโครงการทำวิจัยในชั้นเรียนและเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนได้ถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด นำความรู้ที่ได้รับไปลงมือปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนได้และจากรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรพบว่า สามารถแก้ไขปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Abstract
The purposes of this study aimed to 1) investigate the current conditions and problems of personnel’s competence in conducting classroom research at child development centers, 2) find out guidelines for developing the personnel’s competence in conducting classroom research, 3) follow up and evaluate the results of personnel’s competence in conducting classroom research at child development centers Under Tambon Ban Thon Administration Organization, Sawang DaenDin District, Sakon Nakhon Province. The target group consisted of the research group comprising: the researcher, and 10 personnel at the child development centers, under Tambon Ban Thon Administration Organization, Sawang DaenDin District, Sakon Nakhon Province as the co-researchers, and 14 informants including the 3 stakeholders at the child development center, a lecturer, the 5 representatives of children’s parents, and 5 chair persons of the board of the child development centers. The instruments used were the interview form, the observation form, and the evaluation form. Statistics utilized included percentage, mean, and standard deviation.
The results shown that:
1. The effects of the investigation of the current conditions and problems of the personnel’s competence in conducting classroom research at child development center Under Tambon Ban Thon Administration Organization, Sawang DaenDin District, Sakon Nakhon Province shown that:
1.1 The current conditions of the personnel’s competence in conducting classroom research found that the personnel at child development centers never concretely conduct the classroom research because there is no personnel’s potential development about conducting class room research for them.
1.2 The problems of the personnel at child development centers about conducting classroom research were to lack of knowledge and a skill to conduct classroom action research.
2. The guidelines for developing the personnel’s competence in conducting classroom research were composed of: 1) a workshop and 2) supervision after the workshop in the first spiral. In the second spiral, supervision was applied for monitoring, evaluation, and giving a recommendation to exchange knowledge and experiences among researchers and the supervisor who was a specialist in classroom research and lead the researchers to writing classroom research reports.
3. The effects of the development of the personnel’s competence in conducting classroom research revealed that after the development, the personnel gained better knowledge, understand about conducting classroom research in all the five steps of classroom research consisting of 1) survey and analysis of problems, 2) identify of the guidelines for problem solving, 3) development of the methodology or innovation,
4) implement action of the methodology or innovation, and 5) conclusion and the researchers can write the classroom research report correctly in the maximum level.
คำสำคัญ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การพัฒนาบุคลากร, การวิจัยในชั้นเรียนKeyword
Action Research, Develop Personnel, Classroom Researchกำลังออนไลน์: 75
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 3,573
จำนวนครั้งการเข้าชม: 58,772
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093