...
...
เผยแพร่: 30 ก.ย. 2567
หน้า: 237-247
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 15
Download: 9
Download PDF
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Creative Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of Academic Administation in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
สุรกานต์ ประชานันท์, ไชยา ภาวะบุตร, ภัทรดร จั้นวันดี
Author
Surakan Prachanan, Chaiya Pawabutra, Pataradron Junwandee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 345 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 80 คน และครูผู้สอน 265 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 2 ด้าน คือด้านที่ 1 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.65 - 0.72 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.77 - 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถานภาพการดำรงตำแหน่งใช้การวิเคราะห์ค่าที (t - test) ชนิด Independent Sample ส่วนการทดสอบขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร อยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง (rxy = .592) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. อำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร ด้านความยืดหยุ่น ด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านวิสัยทัศน์ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 64.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ +0.24710 7. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้แก่ 1) ผู้บริหารประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของการบริหารจัดการที่มีความยืดหยุ่นของผู้บริหาร 2) ผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการบริหารจัดการของผู้บริหาร ครูและบุคลากรสถานศึกษา 3) ผู้บริหารเสนอแนวทางในการปรับตัว ปรับกระบวนทัศน์ และยืดหยุ่นในการทำงาน 4) ผู้บริหารควรมีความเป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนร่วมงาน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

Abstract

The purpose of this research is to study, compare, and find relationships. Find the power of prophecy and find ways to develop creative leadership among administrators that affect the effectiveness of academic administration in schools. Under the jurisdiction of the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office, Area 2, according to the opinion of educational institution administrators and teachers, This research is mixed - methods research. The sample group was used to research educational institution administrators and teachers. Under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office, Area 2, academic year 2023, there are 345 people, consisting of 80 school administrators and 265 teachers. The sample size was determined according to Crazy's table. Using multi - stage random sampling (multi - stage random sampling), the tool used to collect data is a questionnaire. The scale assesses two aspects, namely, aspect 1: the creative leadership of executives. The discriminatory power was between 0.65 - 0.72, with a confidence value of 0.75. Area 2: Effectiveness of academic administration in schools. The discriminatory power was between 0.77 and 0.83, with a confidence value of 0.84. Statistics used in data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation. T - test (t - test) type: independent sample As for the test of school size and operational experience, Use one - way ANOVA, Pearson's product - moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.  The research results found that. 1. Creative leadership of executives at a high level 2. Creative leadership of executives Classified by position status Overall were significantly different at the .01 level, classified by school size and work experience. Overall, there is no difference. 3. Effectiveness of academic administration in schools at a high level. 4. Effectiveness of academic administration in schools Categorized by position status, size of the school and work experience, overall, there is no difference. 5. Creative leadership of administrators and effectiveness of academic administration in schools There is a positive relationship with statistical significance at the .01 level. The relationship is at a moderate level (rxy =.592). 6. The predictive power of executives' creative leadership. Flexibility Creativity and vision Able to predict the effectiveness of academic administration in schools Statistically significant at the.01 level with a predictive power value of 64.40 per cent and a standard error of prediction equal to + 0.24710. 7. Guidelines for developing creative leadership among administrators that affect the effectiveness of academic administration in schools include: 1) Administrators hold clarification meetings to create awareness and see the value of flexible management by administrators. 2) Executives Supervise, supervise, monitor, and inspect the management of executives. Teachers and educational institution personnel 3) Administrators propose guidelines for adjustment. Paradigm shift and be flexible in working 4) Executives should be friendly with co - workers. and be open to listening to other people's opinions.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ

Keyword

Creative Leadership of Administrators, Effectiveness of Academic Administation

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093