...
...
เผยแพร่: 30 ก.ย. 2567
หน้า: 226-236
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 96
Download: 32
Download PDF
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Digital Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of Academic Administration in Schools Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง
กิตติทัศน์ วงค์ศรีดา, ไชยา ภาวะบุตร, รัชฎาพร งอยภูธร
Author
Kittitad Wongsrida, Chaiya Pawabutra, Ratchadaporn Ngoiphuthorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 330 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2566 จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 72 คน และครูผู้สอน จำนวน 258 คน จาก 72 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .780 - .897 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .933 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .729 - .908 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .954 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .958 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามตัวแปร พบว่า 2.1 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 2.2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (Rxy = 0.896) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร จำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ด้านความเป็นมืออาชีพ ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล และด้านการสื่อสารเชิงดิจิทัล โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 80.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .24285 5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน เสนอแนะไว้ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความเป็นมืออาชีพ ควรส่งเสริมให้พัฒนาความรู้และทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลโดยการฝึกอบรมและศึกษาดูงานจากโรงเรียนที่เป็นเลิศ 2) ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ควรส่งเสริมการการนำเอาสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงานในโรงเรียนอย่างเป็นปกติ 3) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล ควรวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนและศึกษาองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีให้เท่าทันโลกยุคดิจิทัล และ 4) ด้านการสื่อสารเชิงดิจิทัล ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการสื่อสาร ที่เหมาะสมกับการสื่อสารแต่ละระดับทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

Abstract

This research aimed to examine, compare, and identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing the digital leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample consisted of 72 school administrators, and 258 teachers, yielding a total of 330 participants from schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in the academic year 2023. The sample size was calculated by using Krejcie and Morgan Table, and multi - stage random sampling. The tools for data collection were sets of 5 - rating scale questionnaires, including a set on the digital leadership of administrators with the discriminative power ranging from .780 to .897 and the reliability of .933, and a set on the effectiveness of academic administration in schools with the discriminative power ranging from .729 to .908, and the reliability of .954, an overall reliability coefficient of .958 and a structured interview from examining the guidelines for developing the digital leadership of school administrators. Data analysis statistics consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t - test, One - Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise multiple Regression Analysis The findings were as follows: 1. The digital leadership of school administrators and the effectiveness of academic administration in schools were overall at a high level. 2. The digital leadership of school administrators and the effectiveness of academic administration in schools classified by position, school size and work experience found that. 2.1 The comparison results revealed that the digital leadership of school administrators classified by positions, and work experience, were different, but school sizes showed no difference. 2.2 The comparison results revealed that the effectiveness of academic administration in schools classified by positions, and work experience, were different, but school sizes showed no difference. 3. The digital leadership of school administrators had a positive relationship with the effectiveness of academic administration in schools at the .01 level of significant with a high level of correlation (Rxy = 0.896). 4. Four aspects of the digital leadership of school administrators could predict learning organizations in schools at the .01 level of significant. These aspects include Professionalism, Digital culture creation, Digital vision, and Digital communication, they were able to jointly predict 80.90 percent, and the standard error of estimate of ±.24285. 5. The proposed guidelines for developing the digital leadership of school administrators and the effectiveness of academic administration consisted of four aspects: 1) Professionalism should be made to promote the development of digital technology knowledge and skills through training, workshops, and study visits to excellent schools. 2) Digital culture creation should promote the use of media and digital technology in school operations as a routine practice. 3) Digital vision should be analyzed the school context and exploring new knowledge about utilizing technology to keep up with the digital age, and 4) Digital communication should be study appropriate communication methods for both internal and external communication within the school context.

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำดิจิทัล, ประสิทธิผล, การบริหารงานวิชาการ

Keyword

Digital Leadership, Effectiveness, Academic Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093