บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการบริหารงานระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งหมด 63 คน ในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาข้อมูลจากประชากรทั้งหมด และกลุ่มเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนคือผู้บริหาร นักวิชาการและครูผู้สอน จำนวน 7 คน ที่มีประสบการณ์ความรู้ด้านระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และด้านการศึกษาพิเศษตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัจจุบันการบริหารงานระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนเท่ากับ 0.93 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัญหาการบริหารงานระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนเท่ากับ 0.88 และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันการบริหารงานระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีการดำเนินงานน้อยที่สุดคือการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การให้บริการด้วยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม และการประเมินความก้าวหน้า ส่วนปัญหาการบริหารงานระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือการประเมินความก้าวหน้า แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยสภาพปัจจุบันที่มีการดำเนินงานน้อยที่สุด และมีปัญหามากที่สุดคือด้านการประเมินความก้าวหน้า ทั้งนี้ควรดำเนินการจัดทำข้อมูลแสดงพัฒนาการของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของผู้เรียน และรายงานผู้ปกครองหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบถึงพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการตามระบบวงจรคุณภาพ (PDCA)
Abstract
The objectives of this research were to study the state and problems of the early intervention system of Mae Hong Son special education center and to study the development guides for the administration of the early intervention system of Mae Hong Son special education center. The study population consisted of 2 administrators, 54 teachers, and 7 school committees, totaling 63 persons. Participants in a focus group discussion to determine the guidelines for the administration of the early intervention system at Mae Hong Son special education center were administrators, academicians, and teachers with experience in special education for at least three years, totaling 7 persons. The research tools were a questionnaire with a 5 - level estimation scale The reliability was assessed for content validity by the Index of Cronbach’s alpha coefficient. The reliability of the state of the early intervention system of Mae Hong Son special education center questionnaire was 0.93, and the reliability of the problems of the early intervention system of Mae Hong Son special education center questionnaire was 0.88. The focus group data record. Statistics used to analyze data were the mean and standard deviation and content synthesis. The research result revealed that: The state of the early intervention system of Mae Hong Son special education center as a whole was at a high level. The fewest operations were the general data collection of children with disabilities, service by organizing appropriate activities, and assessment of progress. The assessment of progress is the most difficult problem in Mae Hong Son special education center's early intervention system. The development guide for the administration of the early intervention system of Mae Hong Son special education center had the fewest operations, and the most problematic was progress assessment. The development guide for progress assessment should prepare information showing how the development of students should be done systematically. to compare the development of students and report to parents or those involved in students' development on a continual basis, implementing the Quality Cycle System (PDCA).
คำสำคัญ
ระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนKeyword
The Early Intervention System of Maehongson Special Education Centerกำลังออนไลน์: 14
วันนี้: 563
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 55,762
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093