...
...
เผยแพร่: 30 ก.ย. 2567
หน้า: 125-135
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 32
Download: 18
Download PDF
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Internal Quality Assurance Performance within Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
อทิตยา รักเสมอวงค์, ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ภิญโญ ทองเหลา
Author
Athitaya Raksamerwong, Sikan Pienthunyakorn, Pinyo Thonglao

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจ พยากรณ์ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้างานประกัน และครูผู้สอน ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 384 คนจากโรงเรียน 100 โรงเรียน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ใน 2 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยทางการบริหาร มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.634 - 0.901 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 2) ด้านประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.493 - 0.971 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.986 สถิติที่พื้นฐานใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ค่าเอฟ ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยทางการบริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ปัจจัยทางการบริหารจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะการเปิดสอนโดยรวมไม่แตกต่างกัน 4. ประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะการเปิดสอนโดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ปัจจัยทางการบริหาร (X) กับประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน (Y) โดยรวมพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน มีเพียงปัจจัยทางการบริหารด้านศักยภาพของบุคลากร (X4) และด้านการติดต่อสื่อสาร (X7) ความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ. 01 ตามลำดับ โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ 6. ปัจจัยทางการบริหาร ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 8 ด้าน พบว่า มีจำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนโดยรวม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร (X7) และภาวะผู้นำ (X2) โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 16.20 และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ เท่ากับ ±0.356 7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหาร 2 ด้านที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนโดยรวมได้ คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสาร (X7) รองลงมา คือ ภาวะผู้นำ (X2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของการพยากรณ์ที่อยู่ในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ .635 และ -.509 ตามลำดับ ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยรวมได้ร้อยละ 16.20 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบเป็น Y′ = 4.222 + 0.449 (X7) - 0.322 (X2) และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเป็น Z′y = 0.635 (Z7) - 0.509 (Z2) และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ เท่ากับ ±0.356

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship and predictive power of administrative factors affecting the effectiveness of internal quality assurance performance within schools, and establish guidelines for developing the effectiveness of internal quality assurance performance within schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office Area 2. The sample group, obtained through multi -stage random sampling, consisted of 384 participants from 100 schools, encompassing school administrators, heads of the internal quality assurance division, and teachers during the 2023 academic year. The research tool utilized was a 5 -level rating questionnaire, comprising two aspects: Aspect 1 focused on administrative factors, with the discriminative power from 0.634 to 0.901 and the reliability of 0.988. Aspect 2 assessed the effectiveness of internal quality assurance performance within schools, with the discriminative power ranging from 0.493 to 0.971 and the reliability of 0.986. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation. Hypotheses were evaluated through t - value analysis, One - Way Analysis of Variance F - Test, Pearson's product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The administrative factors were overall at a high level. 2. The effectiveness of internal quality assurance performance within schools was overall at the highest level. 3. The administrative factors, classified by participants’ positions, school sizes, and types of school program provision, overall, found no differences. 4. The effectiveness of internal quality assurance performance within schools, classified by participants’ positions, overall showed differences at the .05 significance level. No significant differences were observed regarding school sizes and types of school program provision. 5. The administrative factors, including personnel potential (X4) and communication (X7), positively correlated with the overall effectiveness of internal quality assurance performance within schools (y) at the .05 and .01 levels of significance, respectively, with a low level of correlation. 6. The administrative factors comprising seven aspects were analyzed across two aspects that could predict the overall effectiveness of internal quality assurance performance within schools at the .01 level of significance, namely communication (X7) and leadership (X2), exhibited the predictive power of 16.20 percent and a standard error of estimate of ±0.356. 7. The guidelines for developing administrative factors that could predict the effectiveness of internal quality assurance performance within schools, consisted of two aspects: 7.1 Communication (X7): Administrators should prioritize communication to enhance performance for maximize efficiency in managing internal quality assurance within schools. 7.2 Leadership (X2): Administrators should continuously develop themselves and possess a clear vision for carrying out internal quality assurance performance within schools to achieve maximum effectiveness.

คำสำคัญ

ปัจจัยทางการบริหาร, ประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน

Keyword

Administrative Factors, Effectiveness of Internal Quality Assurance Performance within Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093