บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน ศึกษาความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน และศึกษาการบริหารงานบุคคลที่เป็นเลิศในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬและหนองคาย และหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 285 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 34 คน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานบุคคล จำนวน 25 คน และครูผู้สอน จำนวน 226 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (Modified Priority Needs Index; PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก 2. สภาพปัจจุบันในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียน พบว่าโดยรวม ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3. ความต้องการจำเป็นและลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง (PNImodified = 0.087) รองลงมา คือ ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง (PNImodified = 0.071) ด้านวินัยและการรักษาวินัย (PNImodified = 0.070) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (PNImodified = 0.068) และด้านการออกจากราชการ (PNImodified = 0.067) ตามลำดับ 4. การบริหารงานบุคคลที่เป็นเลิศในโรงเรียนมัธยมศึกษา เสนอแนะไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง โรงเรียนสำรวจอัตรากำลังตามห้องเรียน เพื่อวางแผนอัตรากำลังในการกำหนดตำแหน่งให้เหมาะสม 2) ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การบรรจุแต่งตั้งเป็นไปตามระเบียบ ส่วนกรณีที่ยังไม่มีการบรรจุแต่งตั้งโรงเรียนมีการจ้างครูอัตราจ้าง 3) ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โรงเรียนจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาในทุก ๆ ปี 4) ด้านวินัยและการรักษาวินัย ใช้ระเบียบวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสำคัญ และ 5) ด้านการออกจากราชการ เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ 5. แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง ควรมีการจัดทำแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ 2) ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ควรมีการดำเนินการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้งให้เป็นไปตามระเบียบ และ 3) ด้านวินัยและการรักษาวินัย ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านวินัยและการรักษาวินัย
Abstract
The purposes of this research were to examine the level, compare current and desirable conditions for personnel administration in schools, explore the needs and prioritize the importance of needs for personnel administration in schools, and explore the exemplary school with excellence personnel administration in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Bueng Kan and Nongkai, and establish guidelines for developing personnel administration in schools under the Secondary Educational Service Area Office Bueng Kan (SESAO). The sample, obtained through multi - stage random sampling, consisted of 285 participants, including 34 school administrators, 25 heads of personnel administration, and 226 teachers in schools under the SESAO Bueng Kan in the 2021 academic year. The instruments for data collection included a set of questionnaires on current and desirable conditions of personnel administration in schools, with the reliability of 0.98, and an interview form on guideline for personnel administration development in schools. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, F – test (One – Way ANOVA), and Modified Priority Needs Index (PNImodified). The findings were as follows: 1. The current and desirable conditions for personnel administration in schools as a whole were at a high level. 2. The overall current conditions for personnel administration in schools, classified by participants’ positions and school sizes, showed no differences. In terms of work experience, differences were identified at the .01 level of significance. Similarly, the overall desirable conditions for personnel administration in schools, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience, showed no differences. 3. The needs assessment for personnel administration in schools highlighted the following aspects with the highest needs, respectively ranked as follows: Manpower planning and positioning (PNImodified = 0.087), followed by recruitment and appointment (PNImodified = 0.071), discipline and disciplinary maintenance (PNImodified = 0.070), efficiency enhancement in official performance (PNImodified = 0.068), and resignation from government services (PNImodified = 0.067).
4. The excellence in personnel administration within secondary schools was recommended in five key areas: 1) Manpower planning and positioning: Schools should conduct surveys on classroom manpower to determine appropriate manpower and positioning; 2) Recruitment and appointment: Schools should establish job appointments in accordance with the regulations. In cases where recruitment has not occurred, teachers hired on a temporary basis should be designated, 3) Efficiency enhancement in official performance: School should offer annual training programs, 4) Discipline and disciplinary maintenance: Schools should adhere to the regulations of Teachers Civil Service and Education Personnel, and 5) Resignation from government services: Schools must follow government regulations. 5. Guidelines for enhancing personnel administration in schools involved three key aspects: 1) Manpower planning and positioning: Schools should conduct surveys on manpower and organize meetings to plan appropriate manpower and positioning; 2) Recruitment and appointment: Schools should recruit and appoint personnel following the regulations; and 3) Discipline and disciplinary maintenance: Administrators should exemplify discipline and ensure disciplinary maintenance.
คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น, แนวทางพัฒนา, การบริหารงานบุคคลKeyword
Needs Assessment, Guidelines Development, Personnel Administrationกำลังออนไลน์: 36
วันนี้: 593
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 55,792
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093