...
...
เผยแพร่: 30 ก.ย. 2567
หน้า: 84-94
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 86
Download: 47
Download PDF
การบริหารทีมงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Team Management Affecting School Administration Effectiveness under Mukdahan Primary Educational Service Area Office
ผู้แต่ง
พัชฬนันท์ ไชยวงศ์คต, สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, รัชฎาพร งอยภูธร
Author
Patchalanan Chaiwongkhot, Sawat Pothivat, Rutchadaporn Ngoiphuthon

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารทีมงาน 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทีมงานกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน 4) การบริหารทีมงานที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนและสมการพยากรณ์และ 5) แนวทางการพัฒนาการบริหารทีมงานที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดี ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย บุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 326 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 105 คน และครูผู้สอน จำนวน 221 คน จากโรงเรียน 105 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามการบริหารทีมงาน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .662 – .927 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .986 แบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .658 – .907 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ส่วนการหาแนวทางในการพัฒนาใช้เทคนิคการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารทีมงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ค่าความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทีมงานกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxtyt = .835) 4. การบริหารทีมงาน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนโดยรวมได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ การกำหนดบทบาทหน้าที่ (X6) การมีมนุษยสัมพันธ์ (X5) และการมีส่วนร่วม (X2) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนโดยรวมได้ร้อยละ 72.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .22675 5. แนวทางพัฒนาการบริหารทีมงานที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การกำหนดบทบาทหน้าที่ ได้แก่ ผู้บริหารต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานของแต่ละบุคคลก่อนที่จะมอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ ทักษะ ความสามารถของแต่ละบุคคล มีการกำกับ ติดตามการทำงานอย่างสม่ำเสมอ กำหนดบทบาทหน้าที่ให้แต่ละบุคคลอย่างชัดเจนไม่เกิดความซ้ำซ้อน เสมอภาค และมอบหมายงานด้วยความไว้วางใจ 2) การมีมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่ ผู้บริหารและครูสร้างบรรยากาศในการทำงานแบบกัลยาณมิตร ช่วยเหลือสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกันและจริงใจต่อกัน ผู้บริหารต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรทุกคน มีการติดต่อสื่อสาร สร้างขวัญและกำลังใจ เมื่อทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 3) การมีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้บริหารใช้หลักการมีส่วนร่วมในการบริหาร ให้ทุกฝ่ายร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำร่วมประเมิน และร่วมรับผิดชอบ มีเป้าหมายร่วมกันและร่วมกำหนดแนวทางในการพัฒนาโรงเรียน

Abstract

This research aimed to examine 1) the level of team management, 2) the level of school administration effectiveness, 3) the relationship between team management and school administration effectiveness, 4) to ascertain whether team management is a good predictor affecting school administration effectiveness and a predictive equation, and 5) to establish guidelines for enhancing team management as a good predictor affecting school administration effectiveness. The research sample group consisted of 326 personnel, comprising 105 school administrators and 221 teachers from 105 schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office, in the academic year 2022. The sample size was determined by Krejcie & Morgan Table and selected through multi -stage random sampling. The research used two sets of 5 - rating scale questionnaires to assess both team management and school administration effectiveness. These questionnaires exhibited item discrimination ranging from .662 to .927 and .658 to .90, with the reliability of .986, and .983, respectively. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The expert interviews were undertaken to formulate development guidelines. The findings were as follows: 1. The team management was overall at the highest level. 2. The school administration effectiveness was overall at the highest level. 3. Regarding the relationship between team management and school administration effectiveness, there was an overall positive correlation at a high level (rxtyt = .835) with a statistically significant difference at the .01 level. 4. The team management that could predict school administration effectiveness was overall at the .01 level of significance, comprising three aspects: Roles and Duties (X6), Human Relations (X5), and Participation (X2). These variables collaboratively accounted for 72.90 percent of the variation observed in the overall school administration effectiveness, with the standard error of the estimate at ± .22675. 5. The guidelines for developing team management as good predictors encompassed three aspects: 1) Roles and Duties. School administrators are advised to possess comprehensive information about each individual before task allocation, ensuring a precise match between assigned responsibilities and the individual’s knowledge, skills, and abilities. Regular monitoring and supervision of tasks should be established, aiming to prevent work redundancies and foster fairness. Task assignments should be structured on trust and clarity to avoid ambiguity; 2) Participation: Administrators should embrace participatory principles to encourage involvement across all sectors, fostering shared thinking, planning, action, assessment, and responsibility, and mutually establish common goals and determine guidelines for school development, and 3) Human Relations. Administrators and teachers should cultivate a friendly work atmosphere, and mutually support, and foster sincere relationships. Administrators must also interact, communicate, and build team morale with all personnel while steering toward predetermined goals

คำสำคัญ

การบริหารทีมงาน, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน

Keyword

Team Management, School Administration Effectiveness

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093