บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานบุคคล และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูหัวหน้าระดับชั้น ครูหัวหน้ากลุ่มงาน และรองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 112 คน และกลุ่มเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิผู้ให้ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคล ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานภายในโรงเรียนที่ได้รับการประเมินภายนอกอยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 7 คน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานบุคคล โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัจจุบันการบริหารงานบุคคลเท่ากับ .980 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัญหาการบริหารงานบุคคลเท่ากับ .976 และแบบสัมภาษณ์ แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์เนื้อหา โดยการประมวลความคิดเห็นแต่ละด้าน แล้วสรุปในรูปพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า มีสภาพปัจจุบันการบริหารงานบุคคลโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง และการรักษาวินัยและการออกจากราชการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ปัญหาการบริหารงานบุคคลโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย ซึ่งปัญหาการบริหารงานบุคคลที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือการพัฒนาบุคลากร 2. แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอนในการพัฒนาบุคลากร ควรดำเนินการส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนเข้าร่วมการอบรม ประชุมสัมมนา จากภายในสถานศึกษา หรือจากหน่วยงานภายนอก เพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงาน และนำความรู้จากการพัฒนาตนเองมาขยายผลภายในสถานศึกษา นอกจากนี้ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทำการวิจัยในชั้นเรียนทุกภาคเรียน โดยผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดเตรียมงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการวิจัย สนับสนุนวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการวิจัย และส่งเสริมให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อพัฒนางานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา ทำให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่สถานศึกษาวางไว้
Abstract
The purposes of this study were 1) to study the current situation and problems of personnel administration and 2) to study ways to solve problems in personnel administration of educational institute administrators under the Secondary Educational Service Area Office Maehongson. The sample was selected from department heads according to subjects, head teachers according to grade level, and assistant directors of the school personnel administration group in the Secondary Educational Service Area Office Maehongson, totaling 112 people. The target group of qualified people who provided information by the interview to study solutions of personnel administration consisted of 7 school administrators who received an external assessment at a high level. The research method was mixed methods. The research tools were questionnaires about current status and personnel administration problems that the reliability of the current situation questionnaire on personnel administration was .980 and the reliability of the questionnaire on personnel administration problems was .976. And the interviews about guidelines how to solve personnel administration problems. Qualitative data was analyzed by content synthesis and by collecting opinions on each side, providing descriptive summary. The quantitative data analysis was analyzed by frequency, percentage, means, and standard deviation. The results of the study were as followed: 1. The current situation of personnel administration of school both overall and side profiles were found to be at a high level: planning manpower and positioning, controlling discipline and resignation from government service was at a highest average but personnel administration problems of school both overall and side cases were low level; the personnel administration problems with the highest average value was personnel development. 2. The guidelines for solving personnel administration problems of school administrators in personnel development under the Secondary Educational Service Area Office Maehongson are to encourage all personnel to attend training, meetings and seminar from the school or from external institutions to increase operational skills and apply knowledge from self-improvement to apply within the school. In addition, personnel administration should be encouraged to research in the classroom every semester. Institution administrators should prepare budgets to support research operations, support external institutions to participate in research development and to promote the formation of professional learning communities for every subject department to develop the greatest benefit to educational institutions to achieve the goals set by the educational institution.
คำสำคัญ
การบริหารงานบุคคลKeyword
Personnel Administrationกำลังออนไลน์: 53
วันนี้: 634
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 55,833
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093