บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครู จำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ เพื่อสอบถามความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับการสภาพการพัฒนาครู ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.380 – 0.70 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.969 ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาสภาพการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวิเคราะห์หลักสูตรและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของโรงเรียน โดยรวมผลไม่แตกต่างกัน 3. แนวการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ โดยการปรับประยุกต์หลักสูตรรายวิชา กิจกรรม หรือโครงการ และหน่วยการเรียนรู้ให้เข้ากับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน ท้องถิ่น และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จัดทำและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ โดยมีการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
Abstract
The purposes of this research were to 1) to study states of teacher development in processing learning management in Secondary Educational Service Area Office Surin, 2) to compare teachers’ opinions toward teacher development, classified by experience and teaching level; and 3) to study guidelines for developing teachers by using the research tool was an online questionnaire to ask the teachers’ opinions toward stating of teacher development in processing learning management in Secondary Educational Service Area Office Surin. The Index of Item Objective Congruence (IOC) was between 0.60 – 1.00, the difficulty was between 0.380 – 0.70 and the reliability was 0.969. Two phases were implemented in this study. Phase 1 was to study and compare state of teacher development in processing learning management. Phase 2 was to study guidelines for developing teachers. Five experts selected by purposive sampling. The findings were as follows: 1. States of teacher development in processing learning management in Secondary Educational Service Area Office Surin was, in overall and each aspect, at a high level. The aspect with the highest average was curriculum analysis while learning assessment and evaluation was at the lowest level. 2. Comparison of teachers’ opinions toward teacher development in processing learning management classified by experience, in overall aspect, was not differences. 3. The guidelines for teacher development in processing learning management in Secondary Educational Service Area Office Surin according to experts’ opinion revealed that adaptation of the course curriculum, activities or projects, and learning units to the context of educational institutions, local learners, and to be able to put them into practice Prepare and develop responsible learning curriculum by analyzing learning standards and indicators
คำสำคัญ
สภาพและแนวทางการพัฒนาครูด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้Keyword
States and Guidelines for Teacher Development in Processing Learning Managementกำลังออนไลน์: 16
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,514
จำนวนครั้งการเข้าชม: 33,817
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093