...
...
เผยแพร่: 30 ก.ย. 2567
หน้า: 12-22
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 22
Download: 12
Download PDF
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Needs and Guidelines for Developing Academic Affairs Administration in Small - Sized Schools Under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
สุวิชัย วงษ์ศรีญา, ไชยา ภาวะบุตร, ประภัสร สุภาสอน
Author
Suwichai Wongsriya, Chaiya Pawabutra, Praphat Supasorn

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และที่ตั้งสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจากโรงเรียนขนาดเล็ก จาก 95 โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 759 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ จำนวน 285 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก มีค่าอำนาจจำแนก .72 - .94 ค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการหาแนวทางการพัฒนาไปศึกษาโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศทางด้านพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กมาบริหารจัดการสถานศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน โดยการศึกษาเอกสาร สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กสภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 2. การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กสภาพปัจจุบัน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในส่วนการจำแนกตามที่ตั้งสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กสภาพที่พึ่งประสงค์ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนการจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในส่วนการจำแนกตามที่ตั้งสถานศึกษา โดยรวม ไม่แตกต่างกัน 4. ดัชนีความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก รายด้าน 3 ลำดับแรกที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูง ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ (PNImodified = .248) 2) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียน (PNImodified = .233) และ 3) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ (PNImodified = .232) 5. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนงานวิชาการ มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานด้านการวางแผนงานวิชาการ พร้อมทั้งมีการวางแผนงานวิชาการมีเป้าหมายในการวางแผนงานวิชาการที่ชัดเจน 2) ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เครื่องมือ วิธีการ หลักเกณฑ์การวัดผลประเมินผล และแนวปฏิบัติวัดผลและประเมินผลการเรียนและงานทะเบียนนักเรียนอย่างเป็นระบบ และ 3) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการ มีการดำเนินการจัดทำแผนงานการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการอย่างเป็นระบบและครบถ้วน ติดตามและประเมินผลการพัฒนาและส่งเสริมทางด้านวิชาการและเก็บข้อมูลนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the current and desirable conditions of academic affairs administration within small - sized schools, 2) compare current and desirable conditions of academic affairs administration in small - sized schools, classified by positions, work experience, and school location, 3) explore needs for developing academic affairs administration within small - sized schools, and 4) establish guidelines for developing academic affairs administration within small - sized schools. The sample group comprised 285 participants, including school administrators and teachers from 95 small - sized schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, in the academic year 2022. The sample size was determined using Krejcie and Morgan's table and simple random sampling. The research tool was a set of 5 - level rating scale questionnaires on the development of academic affairs administration within small - sized schools, with a discriminative power ranging from .72 to .94 and a reliability of .96. The data analysis utilized statistical measures, including frequency, percentage, mean, standard deviation, and the Priority Needs Index. The document inquiries, observations, and interviews across three schools were also conducted to formulate guidelines for developing academic affairs administration within small - sized schools that exhibited exemplary practices in educational institution management. Data analysis was described in content analysis. The results of the research were as follows: 1. Current and desirable conditions for academic affairs administration within small-sized schools were at a high level, whereas desirable conditions were rated at the highest level. 2. Current and desirable conditions of academic affairs administration within small - sized schools, classified by positions showed no differences overall and in each aspect. In terms of work experience, overall was significantly different at the .01 level. In terms of school location, the difference was statistically significant at the .01 level, but regarding positions, there were no differences overall and in each aspect. In terms of work experience, there was a significant difference overall at the .01 level, but regarding school location, there was no difference overall. 3. The priority needs of academic affairs administration within small - sized schools were ranked in descending order as follows: 1) Academic affairs planning, 2) Learning assessment and evaluation, and student registration, and 3) Development and promotion of academic affairs. 4. The guidelines for developing academic affairs administration within small - sized schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, consisted of three aspects: 1) Academic Planning, schools should assign a person in charge for academic affairs planning, along with devising academic affairs planning, and defining clear goals for academic affairs planning, 2) Learning assessment and evaluation and student registration, schools should appoint committee members, tools, methods, criteria for measurement and evaluation, and establish systematical performance guidelines for learning measurement and evaluation and student registration, and 3) academic affairs development and promotion, schools should systematically and comprehensively implement work plans for the development and promotion of academic affairs, follow up and evaluate the academic affairs development and promotion, and collect data for continuous improvement

คำสำคัญ

ความต้องการจำเป็น, แนวทางพัฒนา, การบริหารงานวิชาการ

Keyword

Needs, Development Guidelines, Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093