...
...
เผยแพร่: 30 ก.ย. 2567
หน้า: 1-11
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 154
Download: 95
Download PDF
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Transformational Leadership of School Administrators Affecting Teachers’ Performance in Schools Under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
อาวัชนนท์ อิ่มเพ็ง, สุรัตน์ ดวงชาทม, บดินทร์ นารถโคษา
Author
Arwatchanon Impeng, Surat Duangchatom, Bodin Nardkosa

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 331 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 75 คน และครูผู้สอน จำนวน 256 คน จากจำนวน 75 โรงเรียน วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.479 - 0.880 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.984 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.539 - 0.788 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.940 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียนมีความแตกต่างกัน 3. การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียน มีความแตกต่างกัน 4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร (X) กับการปฏิบัติงานของครู (Y) มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับสูง (rXtYt = 0.776) 5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของครู โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านเกิดการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ (X5) การสร้างแรงบันดาลใจ (X3) และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในองค์กร (X4) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 71.3 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.22493 6. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย เกิดการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ (X5) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในองค์กร (X3) และการสร้างแรงบันดาลใจ (X4)

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing transformational leadership of school administrators affecting teacher performance in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 as perceived by administrators and teachers with different positions and school sizes. The sample, obtained through multi - stage random sampling, consisted of 331 participants, including 75 administrators and 256 teachers from 75 schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, in the 2022 academic year. The tools for data collection included an interview form and a set of questionnaires containing two aspects: transformational leadership of school administrators with the discriminative power ranging from 0.479 to 0.880 and the reliability of 0.984, and teacher performance with the discriminative power ranging from 0.539 to 0.788 and the reliability of 0.940. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test for Independent Samples, One - Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1. The transformational leadership of administrators, as perceived by participants, in overall and each aspect was at a high level. 2. The teacher performance in schools, as perceived by participants, in overall and each aspect was at a high level. 3. The transformational leadership of administrators, as perceived by participants, classified by positions and school sizes showed differences. 4. The teacher performance in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by participants with different positions and school sizes showed differences. 5. The transformational leadership of administrators (X) and teacher performance (Y) had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxtyt = 0.776). 6. The transformational leadership of administrators, namely being important learning resources (X5), inspiration (X3), and key organizational changes (X4), could predict teacher performance at the .01 level of significance, with the predictive power of 71.3 percent and the standard error of estimate of ±0.22493. 7. This research presents guidelines for developing transformational leadership of administrators affecting teacher performance involved three aspects: Being important learning resources (X5), key organizational changes (X3), and inspiration (X4)

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร, การปฏิบัติงานของครู

Keyword

Transformational Leadership of Administrators, Teachers’ Performance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093