...
...
เผยแพร่: 11 ก.ค. 2562
หน้า: 77-86
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 486
Download: 220
Download PDF
ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพของกระบวนการนิเทศภายในกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
The Relationship between the Efficiency of Internal Supervision and the Effectiveness of Academic Affairs Management in Schools under the Office of Bueng Kan Primary Educational Service Area
ผู้แต่ง
รุจาภา วงศ์กาฬสินธุ์, ธวัชชัย ไพใหล, วีระวัฒน์ ดวงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการการนิเทศภายในและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร และครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 2,488 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร และครูผู้รับการนิเทศ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) การทดสอบค่าที (t-test ชนิด independent Samples) และค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิภาพของกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้รับการนิเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้รับการนิเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ประสิทธิภาพของกระบวนการการนิเทศภายในจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนโดยภาพรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ประสิทธิภาพของกระบวนการการนิเทศภายในและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนจำแนกตามประสบการณ์การทำงานโดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพของกระบวนการการนิเทศภายใน โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการนิเทศภายในนำเสนอเพื่อการพัฒนา 3 ด้านประกอบด้วย 1) ขั้นปฏิบัติตามแผนการนิเทศ 2) ขั้นประเมินผลการนิเทศ 3) ขั้นปรับปรุงแก้ไขวิธีการนิเทศและแนวทางพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาท้องถิ่น 2) ด้านการวางแผนงานด้านวิชาการ 3) ด้านการนิเทศการศึกษา 4) ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ 5) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรหน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 6) ด้านการจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา 7) ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียน เพื่อใช้ในสถานศึกษา

Abstract

The purpose of this research were to investigate, compare and find out the relationship and establish the guidelines for developing the efficiency of internal supervisory process and the effectiveness of the academic affairs administration in schools under the Office of BuengKan Primary Educational Service Area. The study samples were drawn from a population of 2,488 participants and consisted of 359 administrators and teachers who received supervision in the academic year 2016.Tool used to collect data was as set of questionnaires with a five-level rating scale, Data analysis statistics were percentage, mean, standard deviation, One-way ANOVA, t-test (Independent Samples) and Pearson’s Product Moment Correlation

The findings were as follows:

1. The efficiency of the internal supervisory process in schools under the Office of BuengKan Primary Educational Service Area, as perceived by administrators and teachers receiving supervision, as a whole were at a high level.

2. The effectiveness of the academic affairs administration, as perceived by administrators and teachers receiving supervision, as a whole were at a high level.

3. The efficiency of the internal supervisory process, classified by working position, as a whole and each aspect was different at a statistical significance at the.01 level, whereas the effectiveness of school academic affairs administration as a whole was different at a statistical significance at the.01 level.

4. The efficiency of the internal supervisory process and the effectiveness of school academic affairs administration, classified by working experience, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.

5. The efficiency of the internal supervisory process as a whole had a positive relationship with the effectiveness of the academic affairs administration at a statistical significance of the .01 level.

6. The guidelines for developing the efficiency of internal supervisory process involved three aspects: 1) Supervision plans for practice, 2) Evaluation of supervision 3) Refinement of supervisory approach. The guidelines for developing the effectiveness of the academic affairs administration involved seven aspects: 1) Development or operational approach concerning generating ideas and initiatives for local development
2) Academic affairs planning,3) Educational supervision, 4) Community promotion strengths in academic affairs, 5) Provision of academic affairs promotion and support for individual,  families, organizations, workplaces and other educational institutions ,6) Rules and regulation concerning school academic affairs, and7) textbook selection for educational institutions.

คำสำคัญ

ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผลกระบวนการนิเทศภายใน, การบริหารงานวิชาการ

Keyword

Efficiency, Effectiveness, Internal Supervisory Process, Academic Affairs Administration

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093