...
...
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2567
หน้า: 78-88
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 298
Download: 181
Download PDF
ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Digital Leadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of Internal Quality Assurance in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้แต่ง
พงษ์ศักดิ์ ชายกวด, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ภัทรดร จั้นวันดี
Author
Pongsak Chaikuad, Ploenpit Thummarat, Phattaradorn Chunwandee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภายในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 330 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 65 คน และครูผู้สอน จำนวน 265 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามเกี่ยวกับด้านภาวะผู้นำดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .979 และด้านประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .949 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis ตอนที่ 2 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คนและใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 5. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 4 ด้าน พบว่ามีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การรู้ดิจิทัล การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล และการสื่อสารดิจิทัล โดยมีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 63.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.27573 7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) การสื่อสารดิจิทัล ควรมีการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล 3) การรู้ดิจิทัล

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and identify the predictive power, and establish the guidelines for developing school administrators’ digital leadership affecting the effectiveness of internal quality assurance (IQA) in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. This research was divided into two parts, Part 1 examined school administrators’ digital leadership affecting the effectiveness of IQA in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. The sample, obtained through multistage random sampling, consisted of a total of 330 participants, including 65 school administrators and 265 teachers working in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon in the 2022 academic year. The research instrument included a five - point rating scale questionnaire on school administrators’ digital leadership, with the reliability of 0.979, and the effectiveness of IQA in schools, with the reliability of 0.949. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, One-way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. Part 2 established the guidelines for developing school administrators’ digital leadership by interviewing 10 experts and using content analysis. The findings were as follows: 1. The school administrators’ digital leadership, both overall and in each aspect, was at a high level. 2. The effectiveness of IQA in schools, both overall and in each aspect, was at a high level. 3. The school administrators’ digital leadership as perceived by participants with different positions as a whole indicated a statistically significant difference at the .01 level, whereas in terms of work experiences, overall, there was no difference. There was a significant difference at the level of .05 in terms of school sizes. 4. The effectiveness of IQA in schools as perceived by participants with different positions as a whole indicated a statistically significant difference at the .01 level, whereas in terms of work experience, overall, there was no difference. There was a significant difference at the level of .05 in terms of school sizes. 5. The school administrators’ digital leadership had a positive relationship with the effectiveness of IQA in schools at a high level with the statistical significance of the .01 level. 6. The study analyzed four aspects of school administrators’ digital leadership. Three of these aspects significantly predict the effectiveness of IQA in schools at the .01 level. The factors included Digital Literacy, Digital Vision, and Digital Communication, accounting for 63.10 percent of the predictive power, with the standard error of estimate of ±.27573. 7. The proposed guidelines for developing the school administrators’ digital leadership affecting the effectiveness of IQA in schools involved three aspects: 1) Digital Vision, school administrators should foster and facilitate the acquisition of knowledge and abilities in using digital technology among personnel, 2) Digital Vision, school administrators should communicate through digital media, and 3) Digital literacy

คำสำคัญ

ภาวะผู้นำดิจิทัล, การประกันคุณภาพภายใน

Keyword

Digital Leadership, Internal Quality Assurance

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093