...
...
เผยแพร่: 11 ก.ค. 2562
หน้า: 56-66
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 549
Download: 207
Download PDF
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยประยุกต์ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านสายปลาหลาย(คุรุราษฎร์ผดุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of Teacher Potential in Managing Life Skills Development Activities for Students by Applying The Philosophy of Sufficiency Economy At Ban Sai Pla Lai School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้แต่ง
นันทา บุรีแสง, เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ประภัสร สุภาสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านสายปลาหลาย (คุรุราษฎร์ผดุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน โดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย เป็นครูที่ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้นิเทศ วิทยากร และตัวแทนนักเรียน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึกการนิเทศติดตาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ ค่าร้อยละความก้าวหน้า ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านสายปลาหลาย (คุรุราษฎร์ผดุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน คือ มีการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมาใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยไม่ได้ประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการจัดกิจกรรม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเฉพาะสาระการเรียนรู้เฉพาะเจาะจง เท่านั้น 2) ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน คือ ครูไม่ได้รับการพัฒนาทางด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูขาดการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง ขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย สอนตามความเคยชินโดยไม่มีการเขียนแผนการจัดกิจกรรม 

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต คือ กิจกรรมแนะแนว และ 3) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ การเขียนแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการมีการพัฒนาดีขึ้น และความพึงพอใจของครูผู้สอนซึ่งเป็นผู้ร่วมวิจัยที่มีต่อการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด2) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน โดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการพัฒนาดีขึ้น และ 3) ครูสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate conditions and problems in managing activities for developing students’ life skills in Ban Saiplalai (Kururajphadung) school under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1, 2) establish the guidelines for teachers’ potential development on learning management to improve students’ life skills based on sufficiency economy principles (SEP), 3) follow up the effects after the intervention. This research employed a participatory action research with two spirals; each spiral comprised four stages of planning, action, observation, and reflection. The target group was a total of five participants including researcher and classroom teachers as co-researchers at Prathomsuksa 1-6 levels in the academic year 2016. The informants were 20 of supervisors, guest speaker, and student representatives. The tools comprised meeting minutes, a form of supervision and follow up, a form of interview, a form of observation, and a form of assessment. The quantitative data was content analysis and presented in a descriptive analysis.

The findings of this research were as follows:

1. The conditions and problems in managing activities for developing students’ skills revealed that 1) In terms of conditions, the instructional plans have not been fully applied the SEP to improve key competencies of learners. The learner-centered learning was done in a specific learning content; 2) in terms of problems, teachers has not been trained for learning management using the SEP. In addition, the results obtained indicated that the teachers did not put the SEP into practice. They also lacked of knowledge and understanding of the SEP contents and tended to teach without making written lesson plans and to employ limited teaching techniques.

2. The guidelines for teachers’ potential development on learning management to improve students’ life skills based on the SEP revealed that in the first spiral, the development guideline involved three means including 1) a training workshop, 2) management of life skills development comprising guidance activities, and 3) internal supervision in the second spiral was done through coaching supervision comprising written lesson plans and learning management on life skills development

3. The effects after the intervention revealed that 1) after the training workshop, teachers gained better knowledge and understanding about managing the activities for developing students’ life skills based on the SEP. In addition, teachers’ satisfaction toward a training workshop as a whole was at the highest level,
2) teachers improved their writing skills when writing their lesson plans in accordance with the SEP, and 3) teachers were able to managing the activities to improve the students’ life skills based on the SEP as a whole at the highest level.

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพครู, ทักษะชีวิต, และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Keyword

Development of teacher potential, Life skills and The Philosophy of Sufficiency Economy

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093