บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โรงเรียนบ้านโพนไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ 3) ติดตามผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยนำหลักการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยการประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้วิจัย จำนวน 9 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบสังเกต และแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละความก้าวหน้า สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่นำเสนอแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนบ้านโพนไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า 1) สภาพการจัดแหล่งเรียนรู้ ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ Active Learning ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดสื่ออุปกรณ์ สภาพห้องเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ไม่สะอาด แสงสว่างไม่พอ วัสดุครุภัณฑ์ในห้องชำรุด ป้ายนิเทศไม่เป็นปัจจุบัน 2) ปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้ ขาดการบริหารจัดการที่ดี ทั้งด้านบุคลากรและด้านงบประมาณ ครูไม่มีเวลาดูแลรับผิดชอบแหล่งเรียนรู้อย่างเต็มที่ เน้นสอนแต่ในห้องเรียน เน้นการเรียนแบบท่องจำ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในเรื่องการจัดแหล่งเรียนรู้ สภาพไม่สะอาด ไม่น่าใช้บริการ ขาดงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมแหล่งเรียนรู้ ขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ การนิเทศติดตามไม่สม่ำเสมอ จึงไม่เกิดความต่อเนื่องของการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 2. แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนบ้านโพนไผ่ จากการร่วมประชุมของผู้ร่วมวิจัยมีมติให้พัฒนา ได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน 3) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ 5) การนิเทศภายใน 3. ผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนบ้านโพนไผ่ พบว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการ ทำให้ผู้ร่วมวิจัยได้รับเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้โดยผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการ อยู่ในระดับมาก การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบส่งผลให้ครูที่ร่วมศึกษาดูงานเกิดแรงบันดาลใจในการที่จะพัฒนางาน โดยกลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความพึงพอใจการศึกษาดูงานในระดับมาก การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เนื่องจากผู้ร่วมวิจัยมีความรู้และทักษะด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทำให้ความร่วมมือในการพัฒนา มุ่งมั่นในการทำงานมีความกระตือรือร้นทำให้มีพฤติกรรมการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความพึงพอใจของในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกแหล่งเรียนรู้ได้ผลการประเมินการพัฒนาในระดับ มากที่สุด เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สนามเด็กเล่น BBL ห้องเรียน ห้องสมุด สนามกีฬา สวนพืชสมุนไพร และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
Abstract
The purposes of this research were: 1) to study the conditions and problems of learning resource management to support active learning management at Ban Phon Phai School; under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 2) to study the guidelines for developing learning resources to support active learning management and 3) to follow up on the development of learning resources to support active learning management by Apply action research principles to carry out 2 cycles consisting of 4 steps: planning (Planning), action (Action), observation. (Observation) and reflection (Reflection) as a tool for development work. research results will be able to develop the school's learning resources for the better the target group of the research consists of the research group consisted of 9 people and the informant group consisted of 69 people. The tools used were interview forms, observation forms and questionnaires, and descriptive data were analyzed to analyze percentage, mean, standard deviation. progress percentage for qualitative data used in Content analysis and categorization of essay presentations. The findings of this study were as follows: 1. Conditions and problems of learning resources management to support active learning at Ban Phon Phai School. Under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2, it was found that 1) the condition of the arrangement of learning resources Not conducive to learning management Active learning Lack of care Lack of device media Classroom conditions or learning resources are not clean. not enough light the materials in the room are damaged. The information board is out of date. 2) Problems in arranging learning resources. Lack of good management both in terms of personnel and in terms of budget Teachers do not have time to take full responsibility for learning resources. Focus on teaching only in the classroom. Emphasis on rote learning Lack of knowledgeable personnel in the arrangement of learning resources, the condition is not clean, not suitable for using the service. Lack of budget to improve the learning center Lack of systematic management Irregular supervision Therefore, there is no continuity of the arrangement of learning resources in the school. 2. Guidelines for the development of learning resources to support active learning management at Ban Phon Phai School From the participants' meetings, it was resolved to develop as follows: 1) Workshop 2) Study visit 3) Learning resource development 4) Active learning management development by using learning resources 5) Learning internal supervision. 3. The results of the development of learning resources to support active learning management at Ban Phon Phai School found that the research participants have techniques and methods for organizing activities to promote learning management by using learning resources by workshop. The research participants were satisfied with the workshop at a high level The group of research participants were satisfied with the study visit at a high level The development of learning resources to support active learning management because the research participants had knowledge and skills in developing learning resources, how to makes development cooperation committed to work with enthusiasm. The development behavior was at the highest level Students were satisfied with the development of learning resources at the highest level All learning resources as at a high level and the assessment results of the development of learning resources. Overall, they were at the highest level All learning centers received the highest level of development evaluation, in descending order, namely BBL playgrounds, classrooms, libraries, sports fields, herb gardens. and computer lab.
คำสำคัญ
การพัฒนาแหล่งเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้แบบ Active LearningKeyword
The Development Resources Management, Learning Management Active learningกำลังออนไลน์: 51
วันนี้: 1,099
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 56,298
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093