บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 196 คน ที่ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกนและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่มีค่าความเที่ยง 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) การหาแนวทางการบริหาร งานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.96, S.D. = 0.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีปัญหาสูงที่สุด คือการประกันคุณภาพการศึกษา ( = 3.02, S.D. = 0.90) รองลงมาคือ การวัดผลและประเมินผล ( = 3.01, S.D. = 0.90) การจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ( = 2.94, S.D. = 0.78) การจัดการเรียนการสอน ( = 2.93, S.D. = 0.79) และการนิเทศภายใน ( = 2.91, S.D. = 0.85) ตามลำดับ 2. แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก ควรมีการดำเนินการดังนี้ 1) ด้านการจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ควรกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบจัดทำแผนพัฒนาการทำหลักสูตรและติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนงาน 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรร่วมกันสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญของการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 3) ด้านการนิเทศภายใน ควรกำหนดมาตรฐานและเครื่องมือรูปแบบของการนิเทศภายในสถานศึกษาให้ชัดเจน 4) ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรกำหนดมาตรฐานและเป้าหมายของการวัดผลและประเมินผลที่ชัดเจน และพัฒนาให้ครูสามารถสร้างเครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่มีมาตรฐาน 5) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ควรทำการวิเคราะห์ผลการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และนำผลมากำหนดแนวทางการดำเนินงานให้มีมาตรฐาน
Abstract
This research aimed to study the problems and propose the guidelines of academic administration in small schools. The research was conducted into 2 steps: 1) studying the problems of academic administration in small schools. The sample comprised 196 administrators and teachers of small schools obtained by using Krejcie & Morgan formula and simple random sampling. The instrument was 5 rating scales questionnaire with a reliability of 0.97. Data was analyzed by mean and standard deviation. 2) finding guidelines of academic administration in small schools was conducted by the group discussion of 7 experts. The instrument was the recording form. Data was analyzed by content analysis. The research findings were as follows: 1. the problems of academic administration in small schools in overall was at a moderate level ( = 2.96, S.D. = 0.80). To consider each aspect, it was found that the most problematic level was the educational quality assurance ( = 3.02, S.D. = 0.90), followed by the measurement and evaluation ( = 3.01, S.D. = 0.90), school curriculum management ( = 2.94, S.D. = 0.78), instructional management ( = 2.93, S.D. = 0.79) and internal supervision ( = 2.91, S.D. = 0.85), respectively. 2. The guidelines for the academic administration in small schools should proceed in each aspect as follows 1) the school curriculum management should assign a person to be responsible for a set the development plan for construct the basic education curriculum and monitoring and reviewing the implementation of the plan 2) the instruction management should raise awareness together to emphasize of creating the various lesson plan that focused on student-centred 3) the internal supervision should clearly define standards and tools for supervision within educational institutions 4) the measurement and evaluation should be clearly defined the standards and goals for measurement and evaluation, and developed to enable teachers to create standardized measurement and evaluation tools 5) the educational quality assurance should analyze the results of educational quality and take the results to determine the standard operating guidelines.
คำสำคัญ
การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนขนาดเล็กKeyword
Academic Administration, Small Schoolsกำลังออนไลน์: 38
วันนี้: 310
เมื่อวานนี้: 1,360
จำนวนครั้งการเข้าชม: 1,481,595
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093