...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 318-328
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 310
Download: 225
Download PDF
ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Needs and Guidelines for Developing Transformational Leadership in the New Normal of the school director under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
วงศกร เพียรชนะ, เพ็ญผกา ปัญจนะ, ทัศนา ประสานตรี
Author
wongsakon peanchana, Penphaka Panjana, Tatsana Prasantree

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 329 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 108 คน และครูผู้สอน จำนวน 221 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.601 – 0.912 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.986 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.460 – 0.979 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการทดสอบ ค่าสถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ใช้สถิติทดสอบ F-test และการคำนวณระดับความต้องการจำเป็นใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่มีสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x}= 3.99) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.85) 2. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียน โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน 3. สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในยุควิถีใหม่ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการตัดสินใจและมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล และลำดับสุดท้าย คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ที่ได้จากการเก็บข้อมูลภาคสนามของโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการตัดสินใจและมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ 2) ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล 3) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล

Abstract

The purpose of this study is to study and compare and study the necessary needs and guidelines for the development of leadership in the new era of change for school administrators. Sakon Nakhon Elementary School Education Service Area Office 2 329 school administrators and teachers from Sakon Nakhon Elementary School Education Service Area 2 Office 108 teachers and 221 teachers used stratified sampling The tool used to collect information is a questionnaire on the current and ideal situation of change leaders in the new era. Sakon Nakhon Elementary School Education Service Area Office 2 Equal to 0.986. Ideally, the questionnaire has classification permissions between 0.460 and 0.979, with a confidence level of 0.989. Required percentages, averages, standard deviations, and demand indices. Use test statistics and t-tests to test hypotheses. Perform one-way ANOVA using F-test statistical data and calculate demand levels using the modified priority demand index. (PNImodified) The results showed that 1. The transformational leadership position in the new period has the overall status quo to a great extent (\bar{x} = 3.99), while the overall ideal situation is at the greatest extent (\bar{x}= 4.85). 2. The status quo of transformational leadership in the new period, according to the overall work experience, has significant differences in level. The classification according to the enrollment status and the overall size of the school shows no difference. 3. The ideal state of transformational leadership in the new period, according to the overall job status, has significant differences in level. Part 01 is classified according to work experience and school size, and the overall level is significantly different. 05 4. Need to develop transformational leadership in the new era According to the opinions of administrators and teachers of educational institutions, the priority of demand is arranged in decision-making, and digital technology skills are flexibly adjusted according to the situation. Finally, personalization is considered. 5. The developmental approach of transformational leadership in the new era is also based on the second district primary education sub-district office obtained from the field data collection of excellent schools, including the following three aspects: 1) decision-making and situational flexibility; 2) digital technology skills; 3) Pay attention to personalization.

คำสำคัญ

ความต้องการจำเป็น, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่

Keyword

Needs Assessment, Transformational Leadership in The New Era

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093