บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเรื่องร่วมสร้างสังคมแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 43 คน โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี โดยสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling ) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนหน่วยการจัดการเรียนรู้เรื่องร่วมกันสร้างสังคมสันติสุข และ 2) แบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t- test Dependent ผลการวิจัย พบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเรื่องร่วมสร้างสังคมแห่งความสุขเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการดำเนินการ 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) การกำหนดปัญหา 2) การวางแผนโครงงาน 3) การลงมือปฏิบัติ 4) การสรุปและนำเสนอผลงาน 5) การประเมินผลและ 6) การขยายผล 2. คุณลักษณะความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were to 1) to develop project-based learning activities entitled a happy society to promote democratic citizenship characteristics of Mattayom 3 students. 2) to compare democratic citizenship characteristics before and after using project-based learning activities. The sample of this research consisted of 43 students from Mattayom 3/6 at Kanchananukroh School under the secondary education service area office Kanchanaburi. by randomizing the classroom using a simple random sampling method (Simple Random Sampling). The research instruments were 1) Lesson plans entitled a happy society. 2) The evaluation form of democratic citizenship characteristics. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, and dependent sample t-test. The results of the research were as follow: 1. Project-based learning activities entitled a happy society to promote democratic citizenship characteristics of Mattayom 3 students were conducted in 6 steps as follows: 1. Problem determination 2. Identification project planning 3. Implementation 4) Summary and Presentation 5. Evaluation and 6. Amplification. 2. Democratic citizenship characteristics of Mathayom 3 students after using project-based learning activities were higher than before at the .05 level.
คำสำคัญ
สังคมศึกษา, กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, คุณลักษณะความพลเมืองในวิถีประชาธิปไตยKeyword
Social Studies, Project-Based learning Activities, Democratic Citizen Characteristicsกำลังออนไลน์: 10
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,148
จำนวนครั้งการเข้าชม: 80,549
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์
โทร: 0-4297-0093