...
...
เผยแพร่: 22 ก.ย. 2566
หน้า: 287-296
ประเภท: บทความวิจัย/บทความวิทยานิพนธ์
View: 338
Download: 234
Download PDF
แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2
The Guidelines of the Small Schools Administration under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
สังวาลย์ สายตา, ธีรพจน์ แนบเนียน, สาธร ทรัพย์รวงทอง
Author
Sangwan Saita, Teerapot Neabnean, Satorn Subruangthong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 และ 2) หาแนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาปัญหาการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 36 คน และครู จำนวน 181 คน รวมทั้งสิ้น 217 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยง 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การหาแนวทางในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.64, S.D. = 0.14) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ การบริหารงานวิชาการ (\bar{x} = 3.99, S.D. = 0.70) รองลงมาคือ การบริหารงานงบประมาณ (\bar{x} = 3.60, S.D. = 0.56) การบริหารงานบุคคล (\bar{x} = 3.53, S.D. = 0.76) และ การบริหารงานทั่วไป (\bar{x} = 3.43, S.D. = 0.91) ตามลำดับ 2. แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ควรดำเนินการดังนี้ 1) ด้านการบริหารงานวิชาการ ควรดำเนินการร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ชุมชนและท้องถิ่น 2) ด้านการบริหารงานงบประมาณควรสนับสนุนการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 3) ด้านการบริหารงานบุคคล ควรกำหนดอัตรากำลังให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของครู 4) ด้านการบริหารงานทั่วไป ควรส่งเสริมให้บุคลากรได้ใช้เทคโนโลยีในการทำงานธุรการ

Abstract

The purposes of this research were to 1) study the problems of the small schools administration under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 and 2) finding guidelines for the administration of small schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2. The research was conducted into 2 steps: 1) studying the problems of the small schools administration under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 with the sample were 36 administrators and 181 teachers obtained by using Krejcie & Morgan formula and simple random sampling. The instrument was 5 rating scales questionnaire with a reliability of 0.96. Data was analyzed by mean and standard deviation.  2) finding guidelines for the administration of small schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2was conducted by focus group discussion of 10 experts. The instrument was the recording form. Data was analyzed by content analysis. The results of the research were as follows: 1. The problems of the small schools administration under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 in overall was at a high level (\bar{x} = 3.64, S.D. = 0.14). To consider each aspect, it was found that the most problematic level was academic administration (\bar{x}= 3.99, S.D. = 0.70), followed by budget administration (\bar{x} = 3.60, S.D. = 0.56), personnel administration (\bar{x} = 3.53, S.D. = 0.76) and general administration (\bar{x} = 3.43, S.D. = 0.91), respectively. 2. the guidelines of the administration of small schools under Nakhon Sawan Primary Educational Service Area Office 2 should proceed as 1) the aspect of academic administration should operate with the local community to develop a school curriculum according to the needs of students, community and local, 2) the aspect of budget administration should supporting resource mobilization and investment in education, 3) the aspect of personnel administration should set the personnel appropriate to their knowledge and ability,  4) the aspect of general administration should encourage personnel to use technology in administrative work.

คำสำคัญ

แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

Keyword

Guidelines of The Administration of Small Schools

สำนักงานสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 2 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทร/ แฟกซ์ 0-4297-0036

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร

ติดต่อ/สอบถาม: นายธีรเวทย์ เพียรธัญญกรณ์

โทร: 0-4297-0093